Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1007
Title: ปัจจัยทางจิต - สังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในเขตกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 ถึง 9
Other Titles: Psychological and Social Factors Affecting on Duty Behavior of Community Relation Police in Metropolitan Division 7-9
Authors: พิทยา, สุทธิธรรม
Sutdhidhum, Pitaya
Keywords: ตำรวจชุมชนสัมพันธ์,การทำงานของเจ้าหน้าที่,กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 ถึง 9,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2004
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ชั้นยศ สถานภาพทางเศรษฐกิจ สถานภาพครอบครัว ระยะเวลาการปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์ การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และปัจจัยทางจิตได้แก่ สุขภาพจิต ทัศนคติ มนุษย์สัมพันธ์ มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานหรือไม่ นอกจากนี้ยังศึกษาว่ามีตัวแปรใดบ้างที่มีประสิทธิภาพสามารถทำนาย พฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการแจกแจงแบบสอบถามแก่เจ้าหน้าี่ตำรวจที่ปฏิบัติงานด้านชุมชนสัมพันธ์ จำนวน 224 คน ในเขตกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 ถึง 9 ซึ่งอยู่ในเขตธนบุรี เป็นการเก็บแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way analysis of variance) โดยใช้ F-test และ t-test สัมประสิทธิื์ค่าสหสัมพันธ์ (correlation coefficient) ของเพียร์สัน และ สัมประสิทธิ์ถดถอย (regression) ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีอายุแตกต่างกัน ระยะเวลาการปฏิบัติงานแตกต่างกันและการได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการทำงานที่แตกต่างกัน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนสุขภาพจิต ทัศนคติ มนุษย์สัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำงาน นอกจากนี้ ปัจจัยทางจิตได้แก่ สุขภาพจิต ทัศนคติ มนุษย์สัมพันธ์ และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ได้ร้อยละ 53.3 โดยมนุษย์สัมพันธ์เป็นตัวทำนายพฤติกรรมการทำงานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ได้เป็นอันดับหนึ่ง ทัศนคติเป็นอันดับสอง ละการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาเป็นอันดับสาม ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะปฏิบัติงานได้ดีจะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน มีสุขภาพจิตที่ดี และได้รับการสนับสนุน จากผู้บังคับบัญชาสูง การทำงานจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ ข้อเสนอแนะ ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในพื้นที่อื่น เช่น ฝั่งพระนคร หรือในต่างจังหวัด เพื่อเปรียบเทียบกับการวิจัยในครั้งนี้หรือศึกษาปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลต่อการปฏิบัติงาน เช่น บรรยากาศในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน และควรศึกษาเพิ่มเติมในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น รวมทั้งควรศึกษาวิจัยในเชิงทดลองเพื่อพัฒนาหรือสร้างแบบฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการสร้างมนุษย์สัมพันธ์แก่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ต่อไป
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1007
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก570.86 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ548.06 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ778.28 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ553.86 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ619.5 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.47 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 210.79 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.54 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.86 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.25 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม2.45 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก813.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.