Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1024
Title: อิทธิพลของทัศนคติต่อการทำงานในระบบราชการที่มีผลต่อความแปลกแยกในการทำงานของพนักงานสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 8
Other Titles: The Effects of Attitude to ward Bureaucracy on Work Alienation of the Investigators in the Metropolitan Police Subdivision 8
Authors: ปวีณา, เอกฉัตร
Ekkachat, Paweena
Keywords: ระบบราชการ,พนักงานสอบสวน,ทัศนคติ,กองบังคับการตำรวจ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับของทัศนคติต่อการทำงานในระบบราชการของพนักงานสอบสวน 2)เพื่อศึกษาระดับของความแปลกแยกในการทำงานของพนักงานสอบสวน 3) เพื่อวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์ภายในระหว่างระยะเวลาการเป็นพนักงานสอบสวน,วุฒิการศึกษา และทัศนคติต่อการทำงานในระบบราชการกับความแปลกแยกในการทำงานของพนักงานสอบสวน และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของระยะเวลาการเป็นพนักงานสอบสวน วุฒิการศึกษาและทัศนคติต่อการทำงานในระบบราชการที่มีต่อความแปลกแยกในการทำงานของพนักงานสอบสวน โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานสอบสวนที่สังกัดในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 จำนวน 101 คน จาก 11 สถานี ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) สำหรับตัวแปรอิสระทีศึกษาได้แก่ ระยะเวลาการเป็นพนักงานสอบสวนวุฒิการศึกษา และทัศนคติต่อการทำงานในระบราชการ 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านความจำเจในการทำงาน มิติด้านความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนในการทำงาน มิติด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน และมิติด้านการอิสระในการทำงาน ส่วนตัวแปรตามที่ศึกษาคือ ความแปลกแยกในการทำงาน 5 ภาวะ ได้แก่ ภาวะไร้อำนาจ ภาวะไร้ความหมาย ภาวะไร้บรรทัดฐาน ภาวะของความรู้สึกโดดเดี่ยว และภาวะความแปลกแยกจากตนเอง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัยขึ้นเอง โดยทำการวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือก่อนนำไปใช้จริง เมื่อผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี Stepwise ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1. พนักงานสอบสวนรู้สึกว่างานด้านการสอบสวนที่ตนเองทำอยู่นั้นต้องใช้ความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนในการทำงานอยู่ในระดับสูง โดยที่ผู้บังคับบัญชาเปิดโอกาสให้ตนเองมีส่วนร่วมในการทำงานค่อนข้างต่ำ เช่นเดียวกับรู้สึกว่ามีอิสระในการทำงานในระดับค่อนข้างต่ำเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนรู้สึกว่างานด้านการสอบสวนที่ตนเองปฏิบัติอยู่นั้นเป็นงานที่ไม่ค่อยซ้ำซากจำเจเท่าใดนัก 2.พนักงานสอบสวนมีความแปลกแยกในการทำงานในภาวะไร้บรรทัดฐานสูงที่สุด รองลงมาคือ ภาวะไร้อำนาจ ภาวะไร้ความหมาย ภาวะความแปลกแยกจากตนเอง และภาวะความโดดเดี่ยวทางสังคม ตามลำดับ ซึ่งสามารถแปลความหมายไว้ว่า พนักงานสอบสวนประสบกับปัญหาความแปลกแยกในการทำงานสามภาวะ ได้แก่ ภาวะความไร้บรรทัดฐานอยู่ในระดับสูง โดยปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่กับภาวะความไร้อำนาจซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน ส่วนภาวะความไร้ความหมายพบว่า ค่าเฉลี่ยที่ได้มีค่าต่ำกว่าภาวะไร้อำนาจเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้พบว่า พนักงานสอบสวนไม่เกิดความแปลกแยกในการทำงาน ในภาวะความโดดเดี่ยวทางสังคมและภาวะความแปลกแยกจากตนเอง 3.ระยะเวลาการเป็นพนักงานสอบสวนไม่มีความสัมพันธ์กับความแปลกแยกในการทำงานของพนักงานสอบสวนทั้ง 4 ภาวะ 4.วุฒิการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะไร้อำนาจ ภาวะไร้ความหมาย ภาวะไร้บรรทัดฐาน และภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม แต่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับภาวะความแปลกแยกจากตนเองในระดับต่ำ (r = .205) 5.ความจำเจในการทำงานของพนักงานสอบสวนมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับภาวะไร้ความหมาย (r = .588) และภาวะไร้อำนาจ (r = .397) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะไร้บรรทัดฐาน ภาวะความโดเดี่ยวทางสังคม และภาวะความแปลกแยกจากตนเอง 6. ความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะไร้บรรทัดฐาน (r = .328) แต่ไม่มีความสัมพันธ์ภาวะไร้อำนาจ ภาวะไร้ความหมาย ภาวะคงามโดเดี่ยวทางสังคม และภาวะความแปลกแยกจากตนเอง 7. การมีอิสระในการทำงานมีความสัมพันธ์ในทางลบกับาวะไร้อำนาจ (r=-.504) ภาวะไร้ความหมาย (r = -.245) และภาวะไร้บรรทัดฐาน (r = -.200) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมและภาวะความแปลกแยกจากตนเอง 8. การมีส่วนร่วมในการทำงานมีความสัมพันธ์ในทางลบกับภาวะไร้อำนาจ (r = -.389) และภาวะไร้ความหมาย (r = -.340) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะไร้บรรทัดฐาน ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม และภาวะความแปลกแยกจากตนเอง 9.ตัวแปรทำนายที่มีอิทธิพลต่อภาวะความไร้อำนาจได้แก่ ความมีอิสระในการทำงาน (B= -.423) และความจำเจในการทำงาน (B=.270) ส่วนตัวแปรที่เหลือไม่มีอิทธิพลต่อภาวะความไร้อนาจ โดยที่ตัวแปรทำนายทั้งสองตัวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะความไร้อำนาจได้ร้อยละ 32 10.ตัวแปรทำนายที่มีอิทธิพลต่อภาวะความไร้ความหมายคือ ความจำเจในการทำงาน (B=.588) ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของภาวะความไร้ความหมายได้ร้อยละ 34.60 11. ตัวแปรทำนายที่มีอิทธิพลต่อภาวะไร้บรรทัดฐานคือ ความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนในการทำงาน (B= .328) ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของภาะความไร้บรรทัดฐานได้ร้อยละ 10.80 12.ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยใช้ภาวะความโดดเดี่ยวทางสังคมและภาวะความแปลกแยกจากตนเองเป็นตัวแปรตาม พบว่า ตัวแปรทำนายทั้งหมดไม่มีอิทธิพลต่อภาวะความโดเดี่ยวทางสังคม และภาวะความแปลกแยกจากตนเอง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1024
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก546.55 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ544.31 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ917.18 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ38.73 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.23 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.22 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 211.8 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3484.37 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4885.09 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.2 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม815.05 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.