Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1065
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไพโรจน์, เรืองทิพย์-
dc.contributor.authorRuengtip, Pairote-
dc.date.accessioned2018-09-20T04:33:18Z-
dc.date.available2018-09-20T04:33:18Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1065-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยด้านความเครียดในการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความท้อถอยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร กองบังคับการตำรวจนครบาล 8 กลุ่มตัวอย่างเป็นตำรวจจราจร กองบังคับการตำรวจนครบาล 8 จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความท้อถอยในการทำงาน แบบสอบถามความพึงพอใจในการทำงาน และแบบสอบถามความเครียดในการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Correlation) และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1.ตำรวจจราจรมีความรู้สึกความท้อถอยในการทำงานด้านความรู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์และด้านความรู้สึกด้อยสัมพันธภาพต่อบุคคลยู่ในระดับต่ำ และมีความรู้สึกว่าตนเองประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงานในระดับสูง 2.ตำรวจจราจรมีความเครียดในการทำงานอยู่ในระดับสูง 3.ตำรวจจราจรมีความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะงาน และด้านผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความพึงพอใจในการทำงานด้านรายได้ ด้านโอกาสในการเลื่อนตำแหน่งและด้านเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับปานกลาง 4.ความท้อถอยในการทำงานด้านความรู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะงาน ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านรายได้/ค่าตอบแทน และด้านโอกาสในการเลื่อนขั้น/ตำแหน่ง ด้านเพื่อนร่วมงาน และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียดในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความท้อถอยในการทำงานด้านความรู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์ไม่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ในการทำงานจราจร อายุราชการและอายุของตำรวจจราจรที่ระดับนัยสำคัญ .05 5.ความท้อถอยในการทำงานด้านความรู้สึกด้อยสัมพันธภาพต่อบุคคลอื่นมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะงาน ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านโอกาสในการเลื่อนขั้น/ตำแหน่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความเครียดในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานด้านรายได้/ค่าตอบแทน ด้านเพื่อนร่วมงาน ประสบการณ์ในการทำงานจราจร อายุราชการ และอายุของตำรวจจราจรที่ระดับนัยสำคัญ .05 7.ความท้อถอยในการทำงานด้านความรู้สึกที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในการทำงานและประสบการณ์ในการทำงานจราจร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานด้านผู้บังคับบัญชา ด้านรายได้/ค่าตอบแทน ด้านโอกาสในการเลื่อนขั้น/ตำแหน่ง ด้านเพื่อนร่วมงาน อายุราชการ และอายุของตำรวจจราจร ที่ระดับนัยสำคัญ .05 8.ตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความท้อถอยด้านความรู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์ คือ ความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะงานและความเครียดในการทำงาน โดยที่ตัวแปรทั้งสองสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความท้อถอยด้านความรู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้ร้อยละ 17.1 9.ตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความท้อถอยด้านความรู้สึกด้อยสัมพันธภาพต่อผู้อื่นคือความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะงาน และความเครียดในการทำงาน โดยตัวแปรทั้งสองสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความท้อถอยด้านความรู้สึกด้อยสัมพันธภาพต่อผู้อื่นได้ร้อยละ 9.0 10.ตัวพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความท้อถอยด้านความรู้สึกที่มีต่อผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน คือ ความเครียดในการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะงาน และความพึงพอใจในการทำงานด้านเพื่อนร่วมงาน ซึ่งตัวแปรทั้งสามสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความท้อถอยด้านความรู้สึกที่มีต่อผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ 13.4en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectความเครียด,ความพึงพอใจ,การปฏิบัติงาน,ตำรวจจราจร,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleปัจจัยความเครียดในการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความท้อถอยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรกองบังคับการตำรวจนครบาล 8en_US
dc.title.alternativeThe Effects of Work Stress and Job Satisfaction on Job Burnout for Traffic Policemen in the Metropolitan Police Subdivision 8en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก535.65 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ528.37 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ230.23 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ59.63 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.15 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.97 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 211.85 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4963.15 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53.76 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม962.23 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก8.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.