Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1089
Title: การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Study of Readiness for School Based Management of Mathayom Watsing School under Office of The Basic Education Commission, Ministry of Education, Bangkok
Authors: กอบกมล, โตสัจจวงศ์
Tosatjawong, Kobkamol
Keywords: การบริหาร
โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2004
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ในทัศนะของบุคลากรระดับบริหาร ระดับปฏิบัติการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2)เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรระดับบริหารระดับปฏิบัติการและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์จำนวน 127 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากรระดับบริหาร 36 คน กลุ่มบุคลากรระดับปฏิบัติการ 91 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ 8 คน รวมจำนวนประชากรทั้งหมด 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง 1 ชุด มี 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็น คำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นพื้นฐาน จำแนกตามภาระงาน 4 ด้าน ตอนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (U) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (o) และทดสอบความแตกต่างด้วย F-test ผลการวิจัย พบว่า 1.ความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 4 ด้าน ในการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารงานทั่วไปมีค่าเฉลี่ยของระดับความพร้อมสูงกว่าด้านอื่นๆ รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ส่วนด้านการบริหารงานวิชาการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2.การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรครูระดับบริหาร บุคลากรครูระดับปฏิบัติการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะว่าโรงเรียนควรพัฒนาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้มากยิ่งขึ้นในเรื่องเหล่านี้ คือ การสร้างความเข้มแข็งแก่งานวิชาการ การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในด้านวิชาการ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ การจัดสวัสดิการอย่างเป็นระบบ การพัฒนาและบริหารการใช้อาคารสถานที่แบบมีส่วนร่วม การจัดระบบประชาสัมพันธ์
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1089
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก529.37 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ555.1 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ620.45 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ57.69 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ654.18 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 13.89 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 28.74 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3703.71 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 42.56 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53.03 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม927.87 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.