Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1270
Title: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยว จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Application of Geo-informatics to support the tourism management in Suphanburi Province
Authors: อารยา, เกียรติก้อง
Giatgong, Araya
กมลศักดิ์, วงศ์ศรีแก้ว
Wongsrikaew, Kamolsak
ปิยวัฒน์, เกียรติก้อง
Giatgong, Piyawat
Keywords: เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
สารสนเทศ
การท่องเที่ยว
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อการสำรวจ รวบรวม จัดทำฐานข้อมูล สารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่่งท่องเที่ยวและสร้างความเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในรูปแบบแผนที่แหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการวิจัยโดยมุ่งเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสำรวจพิกัดเชิงภูมิศาสตร์ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการรวบรวมข้อมูลด้วยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงการสังเกตการณ์ จากหน่วยวิเคราะห์/ประชากรที่ศึกษา ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยว เส้นทางเจ้าหน้าที่ที่ดูแลหรือรับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยว 85 แหล่ง และนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การซ้อนทับ การวิเคราะห์โครงข่ายเชิงพื้นที่ รวมถึงวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติพรรณา ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสุพรรณบุรีทั้งหมดจำนวน 85 แหล่ง จัดประเภทได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1)แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ 2)แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ 3)แหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม 4)แหล่งท่องเที่ยวมนุษย์สร้างขึ้น แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของจังหวัดสุพรรณบุรีเป็น แหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมากรวมกันแล้วมีถึง 55 แหล่ง คิดเป็นร้อยละ 64.7 เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยวทั้งสองประเภทมีโบราณสถานรวมกันมากถึง 45 แหล่ง จากข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมด จะเห็นได้ว่าจังหวัดสุพรรณบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มโบราณสถานมากที่สุด ขณะเดียวกันแหล่งท่องเที่ยวประเภทมนุษย์สร้างขึ้นก็จัดได้ว่ามีจำนวนมากเช่นกัน แต่มีแหล่งท่องเที่ยวประเภททางธรรมชาติน้อยมากเมื่อเทียบใน 4 ประเภท ซึ่งมีเพียงร้อยละ 8.24 ส่วนผลการจัดทำสารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งท่องเที่ยว พบว่าสารสนเทศภูมิศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวที่นำเสนอในรูปแบบแผนที่เฉพาะ ประกอบด้วย 1)สารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดของจังหวัดสุพรรณบุรี 2)สารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3)สารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ 4)สารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม 5)สารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น สำหรับการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวพบว่า มี 2 เส้นทางคือ เส้นทางคือ เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานเส้นทางที่ 1 อำเภอเมือง มีระยะทาง 20.5 กิโลเมตร ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยว 8 แหล่ง ประกอบด้วย วัดพระรูป วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดแคและคุ้มขุนแผน วัดพร้าว วัดหน่อพุทธางกูร และวัดวรจันทร์ เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานเส้นทางที่ 2 อำเภอบางปลาม้า-เมือง-ศรีประจันต์-สามชุก-เดิมบางนางบวช มีระยะทาง 59.4 กิโลเมตร แหล่งท่องเที่ยว 5 แหล่งประกอบด้วย วัดน้อย วัดสนามไชย(ร้าง) วัดบ้านกร่าง วัดเขานางบวช และวัดบ้านทึง(วัดโพธิ์เงิน) ทั้งสองเส้นทางสามารถจัดเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ภายใน 1 วัน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1270
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก548.41 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ846.11 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ31.57 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ987.68 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 25.44 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.37 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 412.74 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.58 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม691.42 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.