Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1470
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิรมล, บางพระ-
dc.contributor.authorBangphra, Niramon-
dc.date.accessioned2019-07-25T04:52:14Z-
dc.date.available2019-07-25T04:52:14Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1470-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง ความรุนแรงต่อสตรีในละครโทรทัศน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของเพศชายในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงต่อสตรีในละครโทรทัศน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของเพศชาย และทดสอบตัวชี้วัดความรุนแรงต่อสตรีในรายการละครโทรทัศน์ทั้งด้านคุณลักษณะและระดับความรุนแรงต่อสตรีในรายการละครโทรทัศน์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ชายไทยที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 60 ปี จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความสัมพันธ์ของสองตัวแปร โดยการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร ระดับนามมาตรา (nominal variable) ใช้สถิติ Chi-Square การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ เพศชายร้อยละ 48.3 มองว่าการรับชมรายการละครโทรทัศน์ที่ปรากฏภาพ เสียง เนื้อหาความรุนแรงต่อสตรีในรายการละครโทรทัศน์ มีส่วนให้กระทำความรุนแรงต่อสตรี โดยให้เหตุผลว่า มีส่วนชักจูงทำให้เด็กและคนในสังคมทำตามพฤติกรรมที่พบในรายการละครโทรทัศน์ เนื้อหาที่แสดงอาจซึมซับโดยไม่รู้ตัว เพศชายร้อยละ 15 เคยแสดงพฤติกรรมความรุนแรงต่อสตรีเลียนแบบเหมือนในละครโทรทัศน์ พบว่า โดยลักษณะของพฤติกรรมของเพศชาย คือ การใช้ภาษาที่รุนแรงเกินไปโดยพูดเลียนแบบในละครโทรทัศน์ ด่าว่า ด่าทอ ทำให้เสียใจ คำพูดที่ใช้ค่อนข้างรุนแรงแม้จะทำไปเพราะอารมณ์ชั่ววูบ ใช้คำพูดหยาบคายกับสตรีคล้ายในละครเหมือนเนื้อหาที่รับชม เคยแสดงแบบตัวละครที่เห็นในละครแล้วมาใช้ในชีวิตจริง การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ชกต่อยใช้ความรุนแรงกับผู้หญิง ชกต่อยทำร้ายเพื่อนเพราะมารบกวนจิตใจ การทำความรุนแรงตามละครแบบเล่น ๆ กับเพื่อน สำหรับตัวชี้วัดความรุนแรงต่อสตรีในรายการละครโทรทัศน์ (SLEV Model) ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัดหลักและ 22 ตัวชี้วัดย่อย พบว่า 1) ตัวชี้วัดด้านเพศ (S: SEX) ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 6 ตัว 2) ตัวชี้วัดด้านภาษา (L: Language) ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 7 ตัว 3) ตัวชี้วัดด้านอารมณ์ (E: Emotion) ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 9 ตัว และ 4) ตัวชี้วัดด้านพฤติกรรมความรุนแรง (V: Violence) ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 7 ตัว ค่าเฉลี่ยของคุณลักษณะเมื่อเปรียบเทียบกับการระดับของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แล้ว คือ ระดับ น18+en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectความรุนแรงen_US
dc.subjectละครโทรทัศน์en_US
dc.subjectพฤติกรรมความรุนแรงen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleความรุนแรงต่อสตรีในละครโทรทัศน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของเพศชายในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeViolence against women on drama television programs that affect the behavior of men violence on Bangkoken_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก108.99 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ198.7 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ173.36 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ251.64 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1387.71 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2471.13 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3231.34 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.09 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5600.75 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม226.34 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก434.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.