Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1474
Title: การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของลีลาวดีโดยใช้เทคนิค RAPD
Other Titles: Assessment of Genetic Diversity among Plumeria spp. Using RAPD Technique
Authors: ภาวิณี, อินนาค
Innark, Pawinee
Keywords: ลีลาวดี
พันธุกรรม
เทคนิค RAPD
เครื่องหมายโมเลกุล
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: ลีลาวดี (Plumeria spp.) เป็นไม้ดอกที่เป็นที่นิยมเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม และมีกลิ่นหอม จึงถือเป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ลีลาวดีมีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ที่แตกต่างกันไป แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและจัดกลุ่มลีลาวดีด้วยเทคนิคทางด้านเครื่องหมายโมเลกุลมาก่อน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของลีลาวดีโดยใช้เครื่องหมาย random amplified polymorphic DNA (RAPD) โดยดีเอ็นเอของลีลาวดีจำนวน 50 ตัวอย่าง ที่สุ่มเก็บจากบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียง ถูกนำมาทดสอบด้วยเครื่องหมาย RAPD จำนวน 20 เครื่องหมาย ผลการวิจัยพบว่าลีลาวดีจำนวน 47 ตัวอย่าง สามารถสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอได้หลังจากทดสอบด้วยเครื่องหมาย RAPD ทั้ง 20 เครื่องหมาย โดยจำนวนแถบดีเอ็นเอที่สร้างได้ทั้งหมดมีจำนวน 351 แถบ มีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ polymorphism เท่ากับ 99.58%, ค่าเฉลี่ยของค่า polymorphism information content (PIC) เท่ากับ 0.33 ค่าเฉลี่ยของค่า resolving power (RP) เท่ากับ 8.52 ค่าเฉลี่ยของค่า effective multiplex ratio (EMR) เท่ากับ 17.45 และค่าเฉลี่ยของค่า marker index (MI) เท่ากับ 5.80 เมื่อวิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วยวิธี unweighted pair-group method using arithmetic average (UPGMA) พบว่าลีลาวดีทั้ง 47 ตัวอย่าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม (กลุ่ม A-D) นอกจากนี้เมื่อการวิเคราะห์การจัดกลุ่มความใกล้ชิดทางพันธุกรรมด้วยวิธี principle component analysis (PCA) พบว่าลีลาวดีในกลุ่ม A แบ่งกลุ่มออกจากกันได้เป็น 3 กลุ่มย่อย จากผลการจัดกลุ่มพบว่าตัวอย่างลีลาวดีไม่สามารถแยกจากกันหรือถูกจัดกลุ่มด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ปรากฏให้เห็นภายนอกได้ โดยข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม การศึกษาด้านอนุกรมวิธาน และการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ลีลาวดีได้ในอนาคต
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1474
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก223.93 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ338.73 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ282.77 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ351.89 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1345.85 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2637.76 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3387.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4878.54 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.5 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม387.35 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.