Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1722
Title: การศึกษากระบวนการเรียนรู้การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Study of Learning Process the Local wisdom of Art and Culture Beliefs and Utilization of the community in Samutprakarn Province
Authors: มงคล, พรสิริภักดี
Pornsiripakdee, Mongkol
พรศิริ, กองนวล
Kongnual, Pornsiri
Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศิลปวัฒนธรรม
กระบวนการเรียนรู้
สมุทรปราการ
ความเชื่อ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยการศึกษากระบวนการเรียนรู้การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจกลุ่ม/ชุมชน/องค์กรที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ ศึกษาลำดับขั้นตอน องค์ประกอบ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ศึกษาตัวบ่งชี้ของกลุ่มที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาให้เอื้อต่อการเกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ผลการวิจัยกลุ่ม ชุมชน และองค์กรที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์ จำนวน 7 กลุ่ม โดยอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) กลุ่มที่มีองค์กรภาครัฐกำกับดูแล จำนวน 1 กลุ่ม 2) กลุ่มที่มีผู้นำทางจิตวิญญาณกำกับดูแล จำนวน 2 กลุ่ม 3) กลุ่มที่มีผู้นำเป็นปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 4 กลุ่ม ลำดับขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็ง ประกอบไปด้วย 1) ร่วมคิด การรับฟังความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ ร่วมตัดสินใจ ร่วมวิเคราะห์ปัญหา และประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 1) วิถีการเรียนรู้ ได้แก่ แนวทางการเรียนรู้ทั้งจากในท้องถิ่นและนอกท้องถิ่น 2) ภายในชุมชน ได้แก่ ผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกในกลุ่มถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิก ปราชญ์ชาวบ้าน สถาบันการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 3) ภายนอกชุมชน ได้แก่ การศึกษาดูงานกลุ่มอื่นๆ การอบรมกับหน่วยงานภายนอก การค้นคว้าข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ และสถาบันการศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นำ สมาชิก ความภูมิใจในอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ความต้องการสืบสานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง และแนวคิดคติความเชื่อทางศาสนา 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเตอร์เน็ต ทีวี วิทยุ หรือหนังสือ เอกสาร ตำรา และงบประมาณ ตัวบ่งชี้ของกลุ่มที่มีแนวปฏิบัติที่ดี มี 4 ด้าน ได้แก่ ลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์รวมทั้งสิ้น 41 ตัวบ่งชี้ แนวทางในการพัฒนาให้เอื้อต่อการเกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ได้แก่ 1) มีผู้นำที่ดี ได้แก่ มีความคิดริเริ่มและกล้าเปลี่ยนแปลง มีจิตวิทยาและมีมนุษย์สัมพันธ์ จูงใจคนได้ดี มีความรับผิดชอบสูง มีทั้งความยืดหยุ่นและความเด็ดขาด มีความรอบรู้และมีสังคม เป็นนักประสานงานที่ดี มีความกระตือรือร้น ทำงานเคียงข้างลูกน้อง มีความน่านับถือ 2) มีการบริหารจัดการชุมชนที่ดี ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงาน การจัดการโครงสร้าง การรับสมาชิก การแบ่งหน้าที่ การควบคุมผลการดำเนินงาน 3) มีความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน ได้แก่ มีการร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ร่วมสรุปบทเรียน ร่วมรับผลประโยชน์ 4) มีกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ การเรียนรู้ 5) มีการสร้างระบบการจัดเก็บและการนำมาใช้ขององค์ความรู้ที่ดี ได้แก่ การนำองค์ความรู้ที่ได้จากแหล่งภายนอกมาจัดรูปแบบ จัดรูปแบบองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นรูปแบบภายใน การเชื่อมต่อกับองค์ความรู้ การสร้างกระบวนการรับรู้ 6) มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การมีผลประโยชน์ร่วมกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1722
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก118.71 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ246.34 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ169.85 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ214.25 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1326.8 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.82 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3238.2 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4876.13 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5367.46 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม252.58 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.