Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1723
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุนันทา, แก้วสุข-
dc.contributor.authorKaewsuk, Sunanta-
dc.date.accessioned2022-03-22T07:07:36Z-
dc.date.available2022-03-22T07:07:36Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1723-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของชุมชน 2) ศึกษาบทบาทและยุทธวิธีการดำเนินงานของภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ3) ศึกษาผลสำเร็จที่ชุมชนได้รับ ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษาจากชุมชนบ้านบางตาแผ่น จำนวน 5 กรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จำแนกชนิดของข้อมูล เปรียบเทียบ และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ชุมชนบ้านบางตาแผ่น ในอดีตกับปัจจุบันมีสภาพแตกต่างกันมาก คือ (1) ในช่วงของการบุกเบิกกับการพึ่งพาตนเอง (พ.ศ. 2445-2503) การดำเนินชีวิตเป็นแบบพอเพียง ผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ในครอบครัว คนในชุมชนมีอาชีพหลัก คือ การทำนา (2) ช่วงของการเปลี่ยนแปลงชุมชนตำบลคลองวัว (พ.ศ. 2504-2539) การดำเนินชีวิตเป็นแบบผลิตเพื่อการค้ามากขึ้นตามนโยบายรัฐบาล ระยะแรกคนในชุมชนยังมีอาชีพหลัก คือ ทำนา มีการนำเครื่องจักรมาใช้ ใช้สารเคมีในการผลิตมากขึ้น เมื่อมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม คนหนุ่มสาวออกไปทำงานในโรงงาน ค้าขาย รับจ้าง มากขึ้น คนที่เหลืออยู่ในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุจึงเปลี่ยนมาทำเกษตรสวนผสมหรือทำอาชีพเสริมอื่นๆ (3) ช่วงหลังเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2540-2558) คนในชุมชนที่ตกงานกลับมาบ้าน ก็มารับจ้าง ปลูกพืชผักสวนครัว ส่วนคนที่ว่างงานผู้ใหญ่บ้านได้ชักชวนให้รวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันทำอาชีพที่เหมาะสม โดยจัดอบรมให้ความรู้ทางด้านอาชีพ ทักษะการใช้ชีวิตและการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรับใช้ในการดำรงชีวิต 2) บทบาทและยุทธวิธีการดำเนินงานของภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านบางตาแผ่น พบว่า ภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญ คือ กระทรวง กรม ที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและให้การสนับสนุน ยุทธวิธีที่ใช้ คือ เผยแพร่นโยบาย กระตุ้นให้เกิดการตระหนักในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดหาต้นแบบ ผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร อบรมให้ความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ติดตามประเมินผลและให้การเสริมแรง ผู้นำชุมชน เป็นแกนนำสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนในชุมชนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ยุทธวิธีที่ใช้ คือ วิเคราะห์ชุมชน ติดตามข้อมูลข่าวสารนำมาเผยแพร่ สร้างความตระหนัก กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต และติดตามประเมินผล และสมาชิกในชุมชนเป็นผู้ที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้นำชุมชนในรูปแบบต่างๆ แล้วนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ยุทธวิธีที่ใช้ คือ การให้ความร่วมมือในโครงการ กิจกรรมต่างๆที่ชุมชนจัดขึ้น 3) ผลสำเร็จที่ชุมชนได้รับ จากวิเคราะห์ สังเคราะห์ตามองค์ประกอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า (1) ความพอประมาณ ได้แก่ มีการดำเนินชีวิตตามอัตภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้สามารถประมาณตนให้เหมาะกับศักยภาพและสภาพชุมชน มีการบริหารจัดการชุมชนที่พอเหมาะพอดี และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (2) ความมีเหตุผล ได้แก่ สร้างระบบกลไกการดำเนินงานโดยกลุ่มสมาชิก ใช้สถานที่อย่างคุ้มค่า จัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ อย่างรอบคอบ ประหยัดทรัพยากรเพื่อลดต้นทุน และจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้น่าอยู่ (3) มีภูมิคุ้มกันที่ดี ได้แก่ มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและภาครัฐให้การส่งเสริม มีการป้องกันความเสี่ยง มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นชุมชนปลอดยาเสพติดและมีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่เข็มแข็ง (4) ความรู้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ สมาชิกในชุมชนสนใจเรียนรู้เรื่องต่างๆ มีปราชญ์ชาวบ้าน/วิทยากรในชุมชน มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน และมีการจัดการความรู้ และ (5) คุณธรรม ได้แก่ ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความรับผิดชอบต่อครอบครัวและชุมชน มีความรักสามัคคีกัน มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่เหนียวแน่นen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.en_US
dc.subjectปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.subjectชุมชนบ้านบางตาแผ่นen_US
dc.subjectบทบาทภาครัฐen_US
dc.subjectอ่างทองen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleบทบาทของภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน บ้านบางตาแผ่น ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทองen_US
dc.title.alternativeROLES OF THE GOVERNMENT SECTOR AND WHO RELATE IN SUPPORTING THE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY OF BANT BANG TA PAN COMMUNITY KLONGWUA SUB-DISTRICT., MUENG ANG THONG DISTRICT, ANG THONG PROVINCEen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก73.7 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ126.94 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ73.23 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ151.74 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1302.19 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.38 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3265.5 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 42.04 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5586.14 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม257.04 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก7.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.