Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1802
Title: แนวทางการจัดสร้างที่พักแบบโฮมสเตย์ ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Guidelines for establishing the homestay accommodation in Bangplee Samutprakarn province
Authors: อนุชิต, จันทรโรทัย
Jantararotai, Anuchit
Keywords: ที่พัก
โฮมสเตย์
นักท่องเที่ยว
สมุทรปราการ
เศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ผู้ประกอบการ โฮมสเตย์ และสภาพทั่วไปของ โฮมสเตย์ ที่ยังให้บริการ (2) เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวในลักษณะเฉพาะโฮมสเตย์ ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (3) เพื่อสำรวจแนวทางการสร้าง โฮมสเตย์ ให้หมาะสมกับอัตลักษณ์ของชุมชน ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในเชิงปริมาณได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจเกี่ยวกับที่พักใกล้เคียงกับที่พักแบบโฮมสเตย์โดยการเลือกเจาะจง จำนวน 35 ราย และที่พักตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยที่คงมีอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และแบบสอบถามความต้องการที่มีต่อที่พักโฮมสเตย์กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน และแบบประเมินที่พักโฮมสเตย์ที่เหมาะสมกับชุมชนจากการทดสอบที่พักแบบโฮมสเตย์โดยเลือกเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในเชิงคุณภาพมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี เช่น การสังเกตและการสนทนาเป็นทางการโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ประกอบการโฮมสเตย์ ที่มีที่พักอาศัยลักษณะใกล้เคียงกับโฮมสเตย์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 51-60 ปี สถานภาพสมรสแต่งงาน การศึกษาระดับอุดมศึกษา มีอาชีพค้าขาย/ประกอบกิจการส่วนตัว และข้อมูลสภาพทั่วไปโดยส่วนใหญ่ พบว่า ด้านที่พัก สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 1-3 คน ต่อห้อง/หลัง ด้านอาหารและเครื่องดื่ม ใช้วัสดุ/วัตถุดิบท้องถิ่น ในการประกอบอาหารพื้นเมือง/อาหารท้องถิ่น ด้านความปลอดภัย มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมียาสามัญประจำบ้านและเครื่องมือปฐมพยาบาลที่มีสภาพใช้ได้ทันทีไม่หมดอายุ ด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้านและสมาชิก ให้การต้อนรับที่อบอุ่นและสร้างความคุ้นเคยในการแนะนำสมาชิกภายในบ้าน ด้านรายการนำเที่ยว ยังไม่มีรายการนำเที่ยวที่ชัดเจนสำหรับนักท่องเที่ยว ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ด้านวัฒนธรรม มีการดำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว ด้านการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน มีผลิตภัณฑ์จากชุมชนเพื่อเป็นของที่ระลึกของฝากหรือจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวแต่ยังไม่มีการจัดทำของที่ระลึกที่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชนวางจำหน่าย ให้นักท่องเที่ยว ด้านการบริหารของกลุ่มที่พัก มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านแต่ยังไม่มีการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการที่พัก และด้านประชาสัมพันธ์ มีเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ของชุมชนจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของชุมชนด้วยตนเอง ในส่วนความต้องการของนักท่องเที่ยวในลักษณะเฉพาะโฮมสเตย์ พบว่า ระดับความต้องการภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.60) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน พบว่า มีความต้องการด้านประชาสัมพันธ์มากที่สุด ( =3.99) รองลงมาด้านการบริหารของกลุ่มโฮมสเตย์ ( =3.85)และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ( =3.03) สำหรับแนวทางการสร้างโฮมสเตย์ ให้หมาะสมกับอัตลักษณ์ของชุมชน พบว่า มีทำเลใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและมีเนื้อที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรม มีบรรยากาศความร่มรื่นของธรรมชาติโดยไม่ต้องปรุงแต่ง และอยู่ในสถานที่ที่เข้าถึงไม่ทำให้มีความลำบากมากนัก มีแหล่งจำหน่ายวัตถุดิบวัสดุ อุปกรณ์และสินค้าในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียงและเป็นจุดร่วมหรือศูนย์รวมของความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนและมีมาตรฐานที่พักตามข้อกำหนดของกรมการท่องเที่ยวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการที่พัก ก่อให้เกิดรายได้ของชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งจากการทดสอบเพื่อประเมินที่พักที่เหมาะสม พบว่า ผลการประเมินให้ระดับคะแนนประเมิน ด้านวัฒนธรรมมากที่สุด ( =3.83) รองลงมาด้านการบริหารของกลุ่มโฮมสเตย์ ( =3.76) และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ( =2.73) และผลการสังเคราะห์ข้อแนะนำ ได้แก่ควรมีการจัดผังพื้นที่พักหรือห้องพักที่เหมาะสมกับจำนวนนักท่องเที่ยว และทำอาหารร่วมกับเจ้าของที่พัก มีระบบและพื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบสำหรับการทำอาหารเพื่อให้เกิดความสะดวกในการรองรับนักท่องเที่ยวรวมทั้งจัดพาหนะในการรับและส่งนักท่องเที่ยวต่อการเข้าทำกิจกรรมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และควรมีสมาชิกในการตรวจสอบดูแล อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่อาจจะชำรุดเพี่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1802
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก171.26 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ438.61 kBAdobe PDFView/Open
Acknowlegement.pdfกิตติกรรมประกาศ187.57 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ343.01 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1292.07 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.31 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3493.01 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 42.18 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.33 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม257.46 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก4.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.