Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1810
Title: รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Management Cooperation Network Model to Develop Business Potential of the Elderly in Samutprakarn Province
Authors: สุชีลา, ศักดิ์เทวิน
saktewin, suchila
Keywords: เครือข่ายความร่วมมือ
การทำธุรกิจ
ผู้สูงอายุ
สมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .
Abstract: การศึกษาเรื่องรูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทหน้าที่ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ 3) ศึกษารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ กลุ่มคนและบุคคล/หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสัมภาษณ์และสอบถามความคิดเห็นเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สอบถามความคิดเห็น และประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทหน้าที่ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรปราการ1.ด้านการส่งเสริมการสร้างอาชีพดังนี้ 1) กรมการจัดหางานมีการให้คำปรึกษาและให้บริการแนะแนวอาชีพตามความถนัด 2) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการส่งเสริมการประกอบอาชีพ และฝึกอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุ3) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีการจัดอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะอาชีพระยะสั้นสำหรับผู้สูงอายุอบรมเพื่อฝึกทักษะอาชีพรวมถึงการพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยีและบริการแนะแนวอาชีพ4)สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรปราการ มีการเตรียมความพร้อมประชากรเข้าสู่สังคมวัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพการส่งเสริมและขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ5) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ มีการส่งเสริมศักยภาพการใช้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุสนับสนุนผู้สูงอายุเป็นวิทยากร 6) กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุจังหวัดสมุทรปราการ มีการส่งเสริมการใช้ศักยภาพผู้สูงอายุให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม7) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสมุทรปราการมีการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด 8) กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดหาบุคลากรมาสอนอาชีพ 9) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีมีการจัดโครงการฝึกอบรมฝีมือแก่กลุ่มผู้สูงอายุและชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ 10) องค์การพัฒนาเอกชนและหน่วยงานอื่นๆส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุบริษัทประชารัฐรักสามัคคี สมุทรปราการช่วยวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาด 11) มหาวิทยาลัยหัวเฉียว ให้การอบรมวิชาการ ในการประกอบอาชีพ เช่น อบรมการทำเจลาติน 2.ด้านการให้ความรู้ในการทำธุรกิจประกอบด้วย2.1ด้านการผลิต มีหน่วยงานที่ให้ความรู้ในด้านการผลิต คือ 1) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการส่งเสริมการประกอบอาชีพ และฝึกอาชีพที่เหมาะสม2) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดอบรมให้ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตให้ได้คุณภาพ 3) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีการอบรมเพื่อฝึกทักษะอาชีพ 4) กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการสำรวจความต้องการ ความสนใจ5) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีมีการจัดโครงการฝึกอบรมฝีมือแก่กลุ่มผู้สูงอายุและชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ2.2 ด้านการจัดจำหน่าย คือ1) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสมุทรปราการมีการจัดหาตลาดและศูนย์แสดงสินค้า ส่งเสริมและพัฒนาตลาดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 2) กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดตลาดนัดภายในชุมชน และมีคณะกรรมการในการดูแล 3) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ มีการส่งเสริมให้ลงทะเบียน OTOP เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมด้านการตลาด 4) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีการจัดงานมหกรรมจำหน่ายสินค้าOTOPที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ เดือนละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังได้จัดอบรมในเรื่องของการทำตลาดออนไลน์ให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจอีกด้วย 2.3 ด้านการบริหารจัดการ คือ1) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดหาบุคคลและหน่วยงานมา อบรมให้ความรู้ด้านต่างๆ 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ให้ความร่วมมือโดยที่สามารถจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมมาเป็นวิทยากร ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ1.ด้านการส่งเสริมการสร้างอาชีพ1) กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้สูงอายุมีทัศนคติต่อการทำงานไม่เหมาะสม ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ และสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน 2) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการผู้สูงอายุไม่เห็นความสำคัญของการทำงาน3) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีมีปัญหาด้านเวลาในการอบรม ส่วนใหญ่จัดวันธรรมดาทำให้ผู้สนใจไม่ได้เข้ารับการอบรมและคนเข้าอบรมน้อย, ด้านการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก 4) กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุจังหวัดสมุทรปราการมีปัญหาขาดแหล่งเงินทุนสนับสนุน งบประมาณมีน้อย ขาดอุปกรณ์ส่งเสริมการสร้างอาชีพ ไม่มีการส่งเสริมที่ต่อเนื่อง 2.ด้านการให้ความรู้ในการทำธุรกิจ ประกอบด้วย2.1ด้านการผลิต1) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปัญหาการทำงานของผู้สูงอายุในการผลิตเกี่ยวกับ สุขภาพ สายตา การรับรู้ ความจำ ความละเอียดของผลิตภัณฑ์ อาชีพบางอย่าง ไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ2) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการพบปัญหาว่า ในการผลิตสินค้า บางแห่งสถานที่การผลิต ยังไม่ได้มาตรฐาน 3) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ยังหายากเพราะบางอย่างมีเฉพาะในฤดูกาล 4) กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบปัญหาที่เกิดจากต้นทุนของวัตถุดิบเพื่อการผลิต 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีพบปัญหาในการจัดหาวัตถุดิบในการอบรมให้ความรู้ในด้านการผลิต คือวัตถุดิบหลายอย่างไม่สามารถเบิกตามระบบได้ เพราะต้องเป็นไปตามนโยบายการเบิกจ่ายของงานการคลัง2.2 ด้านการจัดจำหน่าย1) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พบปัญหาการขาดแหล่งจำหน่ายสินค้า ปัญหาการขาดเครือข่ายในการจำหน่ายสินค้า 2) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ OTOP พบปัญหาเรื่องช่องทางจำหน่ายแบบเดิมๆ เน้นให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือ 3) กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบปัญหาว่า ยังขาดความรู้ การพัฒนา แหล่งที่ขายสินค้าหาตลาดยังไม่ค่อยเป็น และที่สำคัญ สมาชิกยังใช้เทคโนโลยีใหม่ๆไม่สะดวกนักกับยุคปัจจุบัน 2.3 ด้านการบริหารจัดการ1) กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบปัญหาการขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการ ไม่มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ 2) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ พบปัญหาไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ระบบเงินทุนในการดำเนินงานด้านการจัดการน้อยขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการ ขาดการบูรณาการหน่วยงานร่วมกัน เพราะปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างคนต่างทำ ควรวางเครือข่าย จัดตั้งกรรมการที่ชัดเจน รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ มี 3ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วย 1.ขอบข่ายการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุขอบข่ายภารกิจที่หน่วยที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ด้านการผลิตด้านการจัดจำหน่ายด้านการบริหารจัดการ 2.องค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 2.1 กิจกรรมสำคัญที่เสริมประสิทธิภาพการดำเนินภารกิจของเครือข่าย 2.2เทคนิควิธีการพัฒนาสมาชิก 2.3กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) 2.4คุณลักษณะที่ดีของผู้นำและสมาชิกเครือข่าย 2.5การปฏิบัติงานของเครือข่ายและการสะท้อนผล 3.กระบวนการ/ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายประกอบด้วย 6 ขั้นตอน 3.1ขั้นพัฒนาความสัมพันธ์ 3.2 ขั้นตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย 3.3ขั้นรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 3.4ขั้นประสานหน่วยงานองค์กรเครือข่าย 3.5ขั้นสร้างพันธสัญญาร่วมกัน 3.6 ขั้นบริหารจัดการเครือข่าย
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1810
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก87.56 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ148.72 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ84 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ178.9 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1209.74 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.9 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3161.84 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4774.47 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5379.04 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม289.3 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก815.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.