Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/264
Title: รูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย
Other Titles: The Model of Information Literacy Instruction for the Bachelor Degrees' Students of the Rajabhat Universities inThailand
Authors: ปาริชาต, เสารยะวิเศษ
Sourayaviset, Parichard
Keywords: การรู้สารสนเทศ
งานวิจัย
การศึกษาและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2013
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับชั้นปีที่ 1-5 ประจำปีการศึกษา 2555 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน(Multi-Stage Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 398 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 8 แห่ง ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเชื่อถือ (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคคือ 0.846 ไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีการรู้สารสนเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 17 ตัวชี้วัด รวมทั้งพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทยโดยภาพรวม ได้แก่ คณะประสบการณ์การเรียนการใช้ห้องสมุด ประสบการณ์การค้นสารสนเทศ และวัตถุประสงค์การค้น และพบว่ารูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย เรียกว่า "TAEPE Model" ประกอบด้วย 1) การกำหนดภาระงานและแหล่งสารสนเทศ (Task Definition and Identify Potential Sources) 2) การเข้าถึงสารสนเทศ (Accessing) 3) การประเมินและสังเคราะห์สารสนเทศ (Evaluation and Synthesis) 4) การนำเสนอสารสนเทศ (Presentation) หมายถึง การนำสารสนเทศใหม่ไปสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม และจัดทำเป็นรูปแบบใหม่เพื่อเผยแพร่ และ5) จริยธรรมในการใช้สารสนเทศ (Ethically and Legally to Use)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/264
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title1.pdfปก683.71 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ923.09 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ357.94 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.01 MBAdobe PDFView/Open
unit1.pdfบทที่ 12.06 MBAdobe PDFView/Open
unit2.pdfบทที่ 212.12 MBAdobe PDFView/Open
unit3.pdfบทที่ 32.77 MBAdobe PDFView/Open
unit4.pdfบทที่ 46.27 MBAdobe PDFView/Open
unit5.pdfบทที่ 55.99 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม550.9 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.