Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/473
Title: ประเพณีการเทศน์มหาชาติของชาวอำเภอแกลง จังหวัดระยอง
Other Titles: Maha Chati Thessana Custom of People of Klaeng District, Rayong Province
Authors: พระครูใบฎีกาบรรเทา, รื่นรมย์
Ruenrom, Phra Khru Bai Dhika Banthao
Keywords: มหาชาติ
ชาดก
Issue Date: 2012
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกาาประเพณีการเทศน์มหาชาติของชาวอำเภอแกลง จังหวัดระยองในด้านรูปแบบ วิธีการ ทำนอง พิธีกรรมในการเทศน์มหาชาติ และการจัดสถานที่เทศน์มหาชาิต โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยเจ้าอาวาสวัดที่จัดการเทศน์มหาชาติเป็นประจำทุกปี 2 รูป พระภิกษุที่เชี่ยวชาญการเทศน์มหาชาติ 3 รูป และพุทธศาสนิกชนที่นิยมฟังการเทศน์มหาชาติ 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1)รูปแบบการเทศน์มหาชาตินิยมแบบเรียงกัณฑ์ ตั้งแต่ที่หนึ่งไปจนถึงกัณฑ์ที่ 13 โดยเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาขอแต่ละกัณฑ์ให้ผู้ฟังได้รับทราบถึงจริยาวัตรการปฏิบัติหรือการบำเพ็ญบารมีของพระเวสสันดร 2)วิธีการเทศน์มหาชาติมีวิธีการ 3 ขั้นตอนด้วยกัน การเริ่มเรื่อง การดำเนินเรื่อง และการจบเรื่อ 3)ทำนองการเทศน์ มีทำนองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ มีทำนองพากษ์ มีลักษณะการร้องแบบช้า ยาน หวาน ฟังแล้วซาบซึ้งในเนื้อเรื่องของแต่ละกัณฑ์ ทำนองแกะบายศรี มีลักษณะการ้องแบบกระโดด ใช้คำสั้น กระชับ ฟังแล้วรู้สึกสบายใจ เหมือนกล่อมด้วยเสียงดนตรี ทำนองพรตมีลักษณะการร้องแบบเรียบง่ายเหมือนความเรียบร้อยของผู้ทรงศีล เป็นทำนองที่ไม่โลดโผน 4)พิธีกรรมในการเทศน์มหาชาติ เริ่มแรกทายกนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นสู่ธรรมมาสน์ แล้วกล่าวคำอาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีล ทายกกล่างคำถวายเครื่องกัณฑ์ ประธานจุดเทียนส่องธรรม กล่าวอาราธนาธรรม พระสงฆ์เริ่มเทศน์มหาชาติ เจ้าภาพจุดธูปเทียนเท่ากับพระคาถาประจำกัณฑ์จุดเทียนน้ำมนต์็ที่ขันสาคร เมื่อพระเทศน์จบแล้ว พระผู้เทศน์จะให้พรและลงมารับเครื่องกัณฑ์จากเจ้าภาพ ซึ่งถือว่าเสร็จพิธีกรรม 5)การจัดสถานที่เทศน์มหาชาติที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จัดเหมือนกับวัดทั่วไปในพื้นที่อื่น แต่อาจจะมีการตกแต่งต่างกันไปบ้างเล็กน้อย เช่น การประดับด้วยผลไม้ในท้องถิ่น ได้แก่มังคุด ทุเรียน เงาะ เป็นต้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/473
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก610.35 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ317.64 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ943.08 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ332.74 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ594.18 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.48 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 212.47 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3436.79 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 413.46 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 54.5 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม488.73 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก297.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.