Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/500
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกรียงเลิศ, ติรธรรมเจริญ-
dc.contributor.authorTirathamcharoen, Krianglert-
dc.date.accessioned2017-08-24T05:34:15Z-
dc.date.available2017-08-24T05:34:15Z-
dc.date.issued2001-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/500-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานนิเทศ ปัญหาและอุปสรรค และเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานของการปฎิบัติการนิเทศภายในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ จะนวน 778 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบถามแบบปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้คือ จำนวนความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามเกณฑ์มาตรฐาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์กรการนิเทศด้านระบบข้อมูลและสารสนเทศ ด้านการวางแผนงานนิเทศ ด้านการปฎิบัติการนิเทศ และด้านการประเมินผลการนิเทศ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่าปฎิบัติอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานนิเทศ ของการปฎิบัติการนิเทศภายในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน พบว่า ขนาดของโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน จะมีการปฎิบัติงานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า มี 1 คู่ คือ โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดกลาง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัญหา-อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฎิบัติงานนิเทศภายในโรงเรียน สังกัด กรุงเทพมหานคร พบปัญหาในเรื่องดังนี้คือ ขาดบุคลากรที่จะทำการนิเทศ ผู้นิเทศมีงานที่รับผิดชอบมาก ไม่มีเวลาในการนิเทศ นิเทศไม่ต่อเนื่อง ผู้นิเทศไม่เข้าใจในเรื่องการนิเทศ ขาดการยอมรับซึ่งกันและกัน ขาดการวางแผนและการเตรียมการที่ดี ขาดสื่อและเครื่องมือในการปฎิบัติการนิเทศและการประเมินผลการนิเทศ ข้อเสนอแนะคือ ควรกำหนดหน้าที่ผู้นิเทศให้ชัดเจนและลดงานด้านอื่นให้น้อยลง ผู้นิเทศและผู้รับนิเทศควรมีการประชุมวางแผนการนิเทศรว่มกัน และควรจัดการอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectการนิเทศการศึกษาen_US
dc.titleการศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค การนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeA Study of state, Problem and Obstacle for Operation in school Supervisory in Elementary school under the Administration of Bangkok Metropolitan Schoolen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title1.pdfปก5.69 MBAdobe PDFView/Open
Title2.pdfหน้าอนุมัติ9.9 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ10.53 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ9.28 MBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ50.49 MBAdobe PDFView/Open
Unit1.pdfบทที่ 1137.71 kBAdobe PDFView/Open
Unit2.pdfบทที่ 2251.6 MBAdobe PDFView/Open
Unit3.pdfบทที่ 321.81 MBAdobe PDFView/Open
Unit4.pdfบทที่ 4799.74 kBAdobe PDFView/Open
Unit5.pdfบทที่ 5396.73 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม38.09 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก108.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.