Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/617
Title: การบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Student Watch System Administration in Government Secondary Schools in Samut Prakarn Province
Authors: วันเพ็ญ, เลี่ยมยองใย
Leamyongyai, Wanpen
Keywords: ผู้บริหารโรงเรียน - วิจัย - ไทย(สมุทรปราการ)
โรงเรียน - การบริหาร - วิจัย
Issue Date: 2013
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล จังหวัดสมุทรปราการในภาพรวม 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามสถานภาพของผู้บริหาร จำแนกตามเพศชายและเพศหญิง 3) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยจำแนกตามสถานภาพของผู้บริหาร จำแนกเป็นอายุมากและอายุน้อย 4) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามสถานภาพของผู้บริหาร โดยจำแนกตามประสบการณ์มากและประสบการณ์น้อย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร จำนวน 225 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างการหาค่าเฉลี่ยโดยให้ค่าที ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) การบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน 4.55 ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน 4.51 และด้านการส่งต่อนักเรียน 4.50 2) ผู้บริหารที่เป็นเพศหญิงมีความคิดเห็นสูงกว่าเพศชาย และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติโดยด้านการคัดกรองนักเรียนเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เพศหญิงสูงกว่าเพศชายแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยด้านการส่งต่อนักเรียนผู้บริหารที่มีอายุน้อย มีความคิดเห็นสูงกว่าผู้มีอายุมาก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านการคัดกรองนักเรียนผู้บริหารที่มีอายุน้อย มีความคิดเห็นสูงกว่าผู้มีอายุมาก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียนผู้บริหารที่มีอายุน้อย มีความคิดเห็นสูงกว่าผู้มีอายุมาก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผู้บริหารที่มีประสบการณ์น้อยมีความคิดเห็นสูงกว่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์มาก และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/617
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก639.17 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ346.95 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ544.07 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ45.6 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.36 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 12.18 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 218.78 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.36 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 47.3 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 52.31 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม1.15 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.