Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/730
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุภัทรา, ขันติศิริ-
dc.contributor.authorKhuntisiri, Supattra-
dc.date.accessioned2017-09-14T09:23:56Z-
dc.date.available2017-09-14T09:23:56Z-
dc.date.issued2006-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/730-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการนำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ สู่การปฎิบัติอย่างมีประสิทธิผล ในการวิจัยครั้งนี้ใช้กรอบการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และวงจรเดมมิ่ง ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครู-อาจารย์ นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล การสนทนากลุ่ม การประชุมระดมความคิด การสังเกตพฤติกรรมการทำงาน และการเข้าร่วมกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยจัดระบบข้อมูลตามประเด็นสำคัญ ทำการตรวจสอบข้อมูล (1) โดยการวิเคราะห์การหน้าที่ (2)การวิเคราะห์เนื้อหา การตรวจสอบข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบสามเส้า และนำมาเชื่อมโยงเพื่อตอบปัยหาการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า (1) โรงเรียนมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนระยะ 5 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีครูส่วนใหญ่ไม่ได้ร่วมจัดทำจึงไม่ให้ความสนใจและไม่เห็นความสำคัญครูมุ่งสอนตามหลักสูตรซึ่งถือเป็นหน้าที่หลักไม่เข้าใจคำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแผนกลยุทธ์อย่างชัดเจนเช่น คำว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จของการทำงาน ส่วนใหญ่ครูจะรับทราบมากกว่ารับรู้ ทำให้เป้าหมายการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร (2) ในระยะแรกบุคลากรของโรงเรียนขาดความรู้ความเข้าใจในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (3) ผู้วิจัยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเชิญวิทยากรมาให้การอบรม 2 ครั้ง ในเรื่องการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติและการกำหนดตัวชี้วัด ทำให้ความสำเร็จของโครงการการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผลใด้ผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ การอบรมเชิงปฏิบัติการคณะครูได้มีการประชุมกลุ่มย่อยตามกลุ่มสาระการเรียนรู้และนำโครงการมาปรับปรุงตัวชี้วัดในการปฏิบัติงานโดยแก้ไขและเพิ่มเติมให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ หลังการอบรมผู้บริหารและคณะครูได้ประชุมร่วมกันปรับแผนกลยุทธ์ให้มัความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของเขตพื้นที่การศึกษา จากการประเมินความสำเร็จการทำกิจกรรมของโครงการต่างๆ พบว่าการนำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปปฏิบัติอยู่ในระดับดี ผู้นำแผนไปปฏิบัติมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นและมีความพอใจในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติให้อย่างมีประสิทธิผลจาก ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนแตะละระดับสอบตกน้อยลง ผลการสอบระดับชาติทั้งนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 และ 6 ในบางวิชามีผลการสอบดีขึ้นโรงเรียนได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยกรจากชุมชนเพิ่มขึ้นและส่งบุตรหลานมาเรียนเกินเกณฑ์ที่กำหนดen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการวางแผนเชิงกลยุทธ์,โรงเรียน,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleการวิจัยและพัฒนาการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล : กรณีศึกษาโรงเรียนราชประชาสมัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 1en_US
dc.title.alternativeThe Research and Development of an Effective Implementation of the Strategic Plan : A Case Study of RajaPrachaSmasai Rachadapisek School under Samutprakarn Education Regional office Region 1en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก261.41 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ2.4 MBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ467.99 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ291.06 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ633.22 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.55 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 27.75 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.06 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 414.16 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 52.06 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม533.58 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.