Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/736
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุกันญา, ขันทองดี-
dc.contributor.authorKhanthongdee, Sukanya-
dc.date.accessioned2017-09-15T04:05:50Z-
dc.date.available2017-09-15T04:05:50Z-
dc.date.issued2012-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/736-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของนักศึกษานอกระบบโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปรากร 2)เปรียบเทียบการปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของนักศึกษานอกระบบโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ ตามตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล และ 3)ศึกษาความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของนักศึกษานอกระบบโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษานอกระบบโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า เท่ากับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1)นักศึกษานอกระบบโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ มีการปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ก็พบว่า นักศึกษานอกระบบโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน โดยด้านที่นักศึกษามีการปฏิบัติตนเป็นค่าเฉลี่ยสูงสุดซึ่งอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านจิตใจและอารมณ์ รองลงไป ได้แก่ ด้านการศึกษาเรียนรู้ ด้านสังคม ด้านสุขภาพอนามัย และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติตนในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสติปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติตนต่ำที่สุด 2)ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของนักศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ และภูมิลำเนาเดิมต่างกัน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3)นักศึกษานอกระบบโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ มีข้อเสนอแนะเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพอนามัยเป็นความถี่สูงสุด โดยเฉพาะเรื่องการตรวจสุขภาพ (49 ราย) รองลงมา ได้แก่ ด้านการศึกษาเรียนรู้ ซึ่งเสนอให้มีการจัดการเผลแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์โดยใช้เทคโนโลยีให้ทันต่อเหตุการณ์ (38 ราย) และด้านสังคม ซึ่งเสนอให้มีการปรับปรุงการให้บริการของบุคลากรครูเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา (37 ราย)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University.Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectการปฏิบัตตนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของนักศึกษานอกระบบโรงเรียน ในจังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.titleการปฏิบัตตนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของนักศึกษานอกระบบโรงเรียน ในจังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.title.alternativeSelf-practice to Enhance Quality of life Non-formal Education Students in Samutprakan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก381.97 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ368.92 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ157.51 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ591.54 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.15 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 12.63 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 214.66 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.26 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 47.96 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 53.56 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม771.71 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.