Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/785
Title: บทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอเมืองสุนทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Family's Roles Encouraging Language Competency of Secondary School Students Muangsamutprakan District, Samutprakan Province
Authors: สุนทรี, พลอยแดง
Ploydeang, Suntaree
Keywords: ครอบครัว,ภาษา,บทบาทของครอบครัว,สมุทรปราการ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2012
Publisher: Dhonburi Rajabhat University.Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาบทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมความสามารถทางด้านภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง 2)เปรียบเทียบบทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมความสามารถทางด้านภาษาของนักเรียนตามตัวแปรสถานภาพส่วนตัวของนักเรียนและผู้ปกครอง 3)ศึกษาความคิดเห็นเพิ่มเติมของนักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านภาษา และปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 400 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบุาม 2 ชุด (สำหรับนักเรียน และ สำหรับผู้ปกครอง) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1)บทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมความสามารถทางด้านภาษาตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีและการให้คำแนะนำในการใช้ภาษา มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงที่สุด ส่วนด้านการส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษทางด้านภาษา มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติน้อยที่สุด 2)นักเรียนเพศหญิงและเพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมความสามารถทางด้านภาษา ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน นักเรียนที่มีระดับชั้นที่ศึกษาและผลการเรียนวิชาภาษาต่างกัน เห็นว่า ครอบครัวมีบทบาทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เห็นว่า ครอบครัวมีบทบาทมากกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับดีมากและระดับดี เห็นว่า ครอบครัวมีบทบาทมากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนระดับปานกลาง ระดับอ่อน และระดับอ่อนมาก สำหรับผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครองที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ความเกี่ยวกับข้องกับนักเรียน และจำนวนนักเรียนที่ส่งเสียให้การศึกษาต่างกัน ในภาพรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษา อาชีพหลัก รายได้ต่อเดือน และ ลักษณะที่อยู่อาศัยต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3)นักเรียนและผู้ปกครองมีความคิดเห็นตรงกันว่าควรเรียนพิเศษเพิ่มเติม ควรซื้อหนังสือและสื่อเทคโนโลยี ครอบครัวควรให้กำลังใจ ควรฝึกใช้ภาษากับเจ้าของภาษา และควรทำกิจกรรมพิเศษ ส่วนปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัด คือ ปัญหาการเรียนอ่อน พื้นความรู้เดิมไม่ดี เรียนแล้วไม่ได้นำไปใช้ในถานการณ์จริง สำหรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน นักเรียน มีความคิดเห็นว่า ขาดกำลังใจและการสนับสนุนจากครอบครัว ไม่เห็นประโยชน์ของการเรียนภาษา อายหรือกลัวทำผิด ส่วนผู้ปกครองระบุว่า มีปัญหาการเงิน ไม่มีเวลาเอาใจใส่นักเรียน นักเรียนไม่เชื่อฟัง ไม่สนใจเรียน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/785
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก357.5 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ355.29 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ574.09 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ432.59 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.84 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 13.37 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 217.51 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.44 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 49.77 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 53.35 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม1.61 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.