Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/962
Title: กระบวนการคัดคนเข้าบวชในพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
Other Titles: The Process of the Selection of Men to be Ordained in the Buddhist in Thailand
Authors: โอภาส, จ้างมีศิลป์
Jangmeesin, Opas
Keywords: การบวช,พระพุทธศาสนา,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2004
Publisher: Dhonburi Rajabhat University Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัย กระบวนการคัดคนเข้าบวชในพุทธศาสนาในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการคัดคนเข้าบวชในพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลจนปัจจุบัน ศึกษากระบวนการคัดคนเข้าบวชในพุทธศาสนานิกายเถรวาทและมหายานในประเทศไทยกับคริสตศาสนานิกายคาทอลิกในพระเทศไทย วิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการคัดคนเข้าบวชในพุทธศาสนาและคริสตศาสนา เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการคัดคนเข้าบวชในพระพุทธศาสนา วิธีการดำเนินงานวิจัย โดยศึกษาเอกสารขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวเนื่องด้วยกระบวนการคัดคนเข้าบวชในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท นิกายมหายานและคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยและโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ด้วยการพรรณนาและเชื่อมโยงข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการคัดคนเข้าบวชในพระพุทธศาสนา มี 3 แบบ ได้แก่ (1) เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ การบวชที่พระพุทธเจ้าทรงประทานด้วยพระองค์เอง (2) ติสรณคมนูปสัมปทา คือการบวชด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งในปัจจุบันใช้ในการบวชสามเณร (3) ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา คือการบวชที่พระสงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่า สีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่รับคนนั้นเข้าหมู่ และได้รับความยินยอมของภิกษุ ทั้งปวงผู้เข้าประชุม พัฒนาการบวชของเถรวาทในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัย ด้วยพิธีบวชตามประเพณี มีปู่ครูเป็นผู้คัดเลือก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเกิดประเพณีการบวชรับใช้ราชสำนัก และกระบวนการคัดบุคคลเป็นพระอุปัชฌาย์ไปบวชให้ชาวลังกา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน การบวชยึดหลักพระธรรมวินัย และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ การเปรียบเทียบกระบวนการคัดคนเข้าบวชในยุคศาสดา พบว่า พระพุทธเจ้ามีเวลาเผยแผ่ศาสนามากกว่า มีพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการคัดคนเข้าบวชชัดเจน ส่วนพระเยซูมีระยะเวลาเผยแผ่น้อย จึงทำให้กระบวนการคัดคนเข้าบวชไม่ชัดเจน ส่วนคริสต์ศาสนามีการบวชคนเป็นครั้งแรกในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อต้องการผลิตนักบวชในท้องถิ่น อำนาจในการคัดคนเข้าบวชในพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอยู่ที่อุปัชฌาย์ และมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ออกกฎระเบียบควบคุม ส่วนคริสต์ศาสนาอำนาจอยู่ที่สังฆราช สำนักวาติกันและสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยคอยควบคุมพฤติกรรม จากการศึกษาแนวคิดของนักวิชาการต่อการคัดคนเข้าบวช พบว่า นักวิชาการให้ความสำคัญเรื่องกฎระเบียบของมหาเถรสมาคม และให้ยึดตามพุทธบัญญัติ แนวทางการพัฒนากระบวนการคัดคนเข้าบวชในพระพุทธศาสนาต้องยึดหลักธรรมวินัยกับกฎระเบียบทางสังคม และการพัฒนาผู้บวชด้วยการให้การศึกษาทั้งก่อนและหลังการบวช โดยมีการตรวจสอบกระบวนการอย่างเป็นระบบ และจะต้องให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ทั้งอุปัชฌาย์และคณะสงฆ์ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัดมีการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐ ชุมชน และคณะสงฆ์ ช่วยกันตรวจสอบพฤติกรรมของบุคคลผู้จะเข้ามาบวช ข้อเสนอแนะในการพัฒนาควรแปลความหมายของคำบรรพชาอุปสมบทจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคัดคนเข้าบวช ควรมีการตรวจสอบประวัติของบุคคลผู้ที่จะเข้ามาบวชอย่างจริงจัง และมหาเถรสมาคมควรกวดขันเกี่ยวกับการให้บรรพชาอุปสมบทของพระอุปัชฌาย์มากขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/962
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก520.22 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ536.53 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.09 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ47.31 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ547.79 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.12 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 24.63 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.3 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่48.75 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5448.07 kBAdobe PDFView/Open
Unit 6.pdfบทที่ 6239.95 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม199.87 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.