Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1019
Title: การศึกษาประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ
Other Titles: The Study on Public Relations Efficiency of the Bangkok Metropolitan Administration Primary Schools in Phasicharoen District
Authors: อรไทย, บรรลุ
Banlu, Orathai
Keywords: การประชาสัมพันธ์,โรงเรียนประถมศึกษา,ประสิทธิภาพ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องการศึกษาประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์โรงเรียนประถมศึกษา และ 2.เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในเขตภาษีเจริญ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยอาศัยข้อมูล 2 ลักษณะ คือ ข้อมูลเชิงปริฒาณและข้อมูลเชิงคุรภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ จำนวน 7 คน และครูผู้ปฏิบัติหน้าที่สอน จำนวน 206 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่ามัชฉิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การตีความข้อมูลและการเปรียบเทียบข้อมูล แล้วนำมาดำเนินการสังเคราะห์ร่วมกัน เพื่อประมวลเป็นคำตอบของการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นตรงกันระหว่างผู้บริหารและครูอยู่ใน ระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านวิธีการและกิจกรรมการประชาสัมพันธ์โรงเรียนและด้านการบริหารงานบุคคลอยู่ในระดับสูง ส่วนประสิทธิภาพด้านการบริหารงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ ยังพบว่า การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนประถมศึกษาทุกโรงเรียนมีการคัดเลือกและมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณสมบัติเหมาะสมให้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ มีการกำหนดขอบข่ายงานประชาสัมพันธ์ มีการกำหนดขอบข่ายงานประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน แต่ไม่มีการจัดสรรงบประมาณ เฉพาะและวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารโดยตรง สำหรับด้านวิธีการและกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ดำเนินการใน 2 ลักษณะ คือ การประชาสัมพันธ์ภายในและการประชาสัมพันธ์ภายนอกโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้นเป็นอย่างดี และยังให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้านอย่างเต็มใจและพึงพอใจ ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์ มี 3 ประการคือ 1.ด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรไม่มีวุฒิทางการศึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ 2. ด้านงบประมาณ พบว่า ไม่มีการจัดสรรงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์เป็นการเฉพาะ และ 3. ด้านวัสดุอุปกรณ์ พบว่า ไม่มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการประชาสัมพันธ์เป็นการเฉพาะ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นแนวโน้มและแนวทางในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ว่าทุกโรงเรียนได้มองเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ และเห็นว่าควรมีการอบรมพัฒนาครูให้มีความรู้และความสามรถในการใช้สื่อเทคโนโลยีได้อย่างมั่นใจและให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1019
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก494.96 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ527.37 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ784.08 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ54.99 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ684.96 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.58 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 26.34 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3992.41 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.48 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5516.72 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.55 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.