Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1043
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุญสุข, สุขสวัสดิ์-
dc.contributor.authorSuksawat, Boonsuk-
dc.date.accessioned2018-08-21T06:33:55Z-
dc.date.available2018-08-21T06:33:55Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1043-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ในการปฏิรูปการศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านการปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษาด้านการปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และด้านการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติ บทบาทของครูยุคปฏิรูปการศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตเมืองปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 5 โรงเรียน จำนวน 212 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ และการจัดอันดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนมาเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายส่วนมากมีอายุ 45-50 ปี อายุราชการ 16 ปีขึ้นไป มีวุฒิการศึกษาส่วนมากอยู่ในระดับปริญญาตรี 2. การปฏิบัติบทบาทของครูยุคปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อจำแนกรายด้านพบว่าด้านที่ปฏิบัติมากที่สุดได้แก่ การปฏิบัติบทบาทครูด้านการปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาอันดับ 2 ได้แก่ การปฏิบัติบทบาทครูด้านการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนและ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก อันดับ 3 ได้แก่ การปฏิบัติบทบาทครูด้านการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางและอันดับสุดท้ายได้แก่การปฏิบัติบทบาทครูด้านการปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3.การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติบทบาทของครูยุคปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 พบว่ามีปัญหาในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านการปฏิบัติบทบาทของครูด้านการปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ ครูมีภาระงานและคาบสอนมากทำให้ไม่มีเวลาในการพัฒนาการเรียนการสอน ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิรูปการศึกษาและการจัดทำหลักสูตร และครูขาดความร่วมมือจากชุมชน ด้านการปฏิบัติบทบาทของครูด้านปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน มีปัญหาคุณภาพของผู้เรียนอ่อนด้อย ต้องใช้เวลาในการพัฒนา ขาดแหล่งเรียนรู้ที่พร้อมจะให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าและภูมิปัญญาท้องถิ่น และการจัดรายวิชาเพิ่มเติมในแต่ละสาระไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ด้านการปฏิบัติบทบาทของครูด้านการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา มีปัญหาการจัดสรรบุคลากรในโรงเรียนไม่รองรับการจัดการเรียนการสอน ทำให้ครูผู้สอนมีเวลาเตรียม การสอนและอยู่กับนักเรียนน้อย ครูต้องใช้เวลาในการเตรียมเอกสารทั้งด้านผู้สอนและระบบโรงเรียนเพื่อเตรียมการรับการประเมินมากเกินไป และระบบบริหารไม่กระชับ และขาดการมีส่วนร่วมในการบริหาร ด้านการปฏิบัติบทบาทของครูด้านการปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา มีปัญหาสถานศึกษาควรจัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์เพียงพอกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียนบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน 4.ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติบทบาทของครูยุคปฏิรูปการศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้แก่ ควรจัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน ควรให้ครูมีการอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านการปฏิรูปอย่างทั่วถึงen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectครู,การปฏิรูปการศึกษา,การศึกษาแห่งชาติ,โรงเรียนมัธยมศึกษา,สมุทรปราการ,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleบทบาทของครูยุคปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.title.alternativeTeachers' roles in the Educational Reformation according to National Education Act,1999, Mattayom Suksa Schools, Department of General Education, Meaungprakan District, Samutprakan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก552 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ524.9 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.32 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ655.58 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.84 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 15.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 222.51 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3193.68 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 47.78 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 59.2 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม270.59 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก5.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.