Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1079
Title: คติความเชื่อในพระตำราไหว้ครูโขนละครฉบับคุณครูทองสุข ทองหลิม
Other Titles: The Beliefs Found on Mr.Thongsook Thonglim's the Khone and Lakon Textbooks of Wai-Kru
Authors: วีรพล, ดิษเกษม
Diskasem, Weeraphon
Keywords: ความเชื่อ
การไหว้ครู
โขน
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การศึกษาวิจัยคติความเชื่อในพระตำราไหว้ครูโขนละครฉบับคุณครูทองสุข ทองหลิม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อส่วนพิธีกรรม และส่วนองค์ประกอบพิธีกรรมในพระตำราไหว้ครูโขนละครฉบับคุรครูทองสุข ทองหลิม โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพิธีไหว้ครูโขนละคร และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษแบบเจาะลึก เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาบทสรุปถึงคติความเชื่อ ผลการศึกษาพบว่่าคติความเชื่อในพระตำราไหว้ครูโขนละครฉบับคุณครูทองสุข ทองหลิม เป็นระบบคติความเชื่อประเภทลัทธินับถือเทพเจ้า หรือเทวนิยม ซึ่งมีรากฐานทางคติความเชื่อมาจากศาสนาพราหมณ์ คือ การบวงสรวงบูชาเพื่อทำให้เทพเจ้าพึงพอใจ และประทานพรให้ผู้บูชาตามความประสงค์ ทั้งยังผสมผสานอิทธิพลคติความเชื่อในพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากการกล่าวบทนมัสการพระรัตนตรัยก่อนการกล่าวบทอัญเชิญเทพเจ้าต่างๆ เสมอ จากคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ และคติความเชื่อของพระพุทธศาสนาได้มีการผสมผสาน มีการปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของสังคมไทย เช่น เครื่องบูชากระยาบวชสังเวย ล้วนเป็นของในท้องถิ่นหาได้ไม่ยากในประเทศไทย เป็นต้น คติความเชื่อในพระตำราไหว้ครูโขนละครฉบับคุณครูทองสุข ทองหลิม จึงเป็นติความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ และคติความเชื่อในพระพุทธศาสนา มีพัฒนาการมาจนเป็นรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน คติความเชื่อต่างๆ ในพระตำราไหว้ครู เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความหมายในการศึกษาเล่าเรียน เป็นขวัญกำลังใจให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา และเป็นสิริมงคล คุ้มครองป้องกันเภทภัยต่างๆ แก่ผู้เรียนวิชานาฎศิลป์ไทยหรือนาฎศิลปิน พิธีไหว้ครูโขนละครมีความสำคัญในวิชานาฎศิลป์ไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพิธีกรรมที่แสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีของศิษย์ต่อครูอาจารย์และเป็นการส่งเสริมให้ศิษย์รุ่นต่อๆไปรู้สึกกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ด้วย ทั้งยังเป็นขวัญกำลังใจและความเชื่อมั่นแก่ศิษย์ในการเพียรพยายามศึกษานาฎศิลป์ เป็นการตรวจสอบและทบทวนท่ารำต่างๆ ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์เป็นมาตรฐาน และเป็นการร่วมกลุ่มทางสังคม (นาฎศิลป์) ทำให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์และพัฒนาวิชานาฎศิลป์ ซึ่งถือว่าเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ยืนยงต่อไปด้วย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยเรื่องพิธีไหว้ครูโขนละครในโอกาสต่อไปดังนี้ ควรมีการตรวจชำระพระตำราไหว้ครูโขนละครฉบับคุณครูทองสุข ทองหลิมให้ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์ ควรมีการศึกษาวิจัยพระตำราไหว้ครูโขนละครสายพิธีหลวงและสายพิธีราษฎร์ เพื่อหาความคล้ายคลึงและความแตกต่าง ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง หรือความคงอยู่ของประเพณีไหว้ครูโขนละครตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และควรมีการศึกษาเปรียบเทียบพิธีไหว้ครูโขนละครไทยกับการไหว้ครู (หรือประเพณีที่มีลักษณะความหมายเดียวกัน) ของนาฎศิลป์ต่างชาติ เพื่อหารากฐานทางวัฒนธรรมที่อาจมีการเชื่อมโยงทั้งแนวคิดและรูปแบบ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1079
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก520.75 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ544.74 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ2.04 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ626.41 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.04 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.79 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 23.48 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 35.44 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 419.57 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.1 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก4.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.