Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1263
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพงษ์พัชรินทร์, พุธวัฒนะ-
dc.contributor.authorPutwattana, Pongpatcharin-
dc.date.accessioned2019-01-08T08:48:04Z-
dc.date.available2019-01-08T08:48:04Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1263-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของงานประชาสัมพันธ์โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ กำหนดจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อศักยภาพของการประชาสัมพันธ์โครงการบัณฑิตศึกษา และเพื่อกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีที่มีประสิทธิภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ได้แก่ ผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ ประชากรผู้ตอบแบบสอบถาม (Questionnaire) ได้แก่ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน จำนวน 280 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของงานประชาสัมพันธ์โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี การรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ มักเกิดจากการได้รับข้อมูลข่าวสารล่าช้า มีความต้องการในสื่อเว็บไซต์ โครงการบัณฑิตศึกษามากที่สุด มีความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ในภาพรวมในระดับดี ด้านนโยบายหรือแผนพัฒนาโครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน คณะและหลักสูตรมีส่วนในการประชาสัมพันธ์ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ปัญหาและอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์ระดับหลักสูตรคือไม่มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรโดยตรง ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ พบว่าจุดแข็งคือ ชื่อเสียงด้านหลักสูตร มีการจัดการศึกษาเน้นคุณภาพ มีคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สูง จุดอ่อนคือ ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ใช้สื่อ Social Network น้อย ช่องทางการติดต่อสอบถามไม่สะดวก ไม่มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรโดยตรง ข้อมูลข่าวสารยังมีความคลาดเคลื่อน ไม่ชัดเจน ไม่เป็นปัจจุบัน ขาดงบประมาณในการประชาสัมพันธ์ โอกาส คือ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ใจกลางเมือง การเดินทางคมนาคมสะดวก อุปสรรค คือ มีการแข่งขันสูง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรใหม่ยังไม่ชัดเจน ผู้วิจัยนำเสนอกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ 3 กลยุทธ์หลักคือ 1 กลยุทธ์ด้านการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 1)กลยุทธ์การใช้สื่อหลายประเภทร่วมกัน 2)กลยุทธ์การกำหนดสื่อหลักและสื่อเสริม 3)กลยุทธ์การใช้สื่อโดยเจาะกลุ่มเป้าหมาย 4)กลยุทธ์เพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับเครือข่าย 5)กลยุทธ์ในการใช้สื่อสมัยใหม่ 6)กลยุทธ์การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ที่ดึงดูดความสนใจ 2.กลยุทธ์ด้านการใช้สารประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 1)กลยุทธ์การสร้างสัญลักษณ์ 2)กลยุทธ์การสร้างความน่าเชื่อถือในสาร 3)กลยุทธ์การเผยแพร่สาร 4)กลยุทธ์การใช้ภาษา (Wording) ที่เป็นจุดขายที่น่าสนใจ 5)กลยุทธ์นำเสนอจุดเด่นของหลักสูตร และ 3.กลยุทธ์ด้านคนหรือองค์กร ประกอบด้วย 1)กลยุทธ์พัฒนาระบบงานประชาสัมพันธ์เชิงรุก 2)กลยุทธ์การสร้างศักยภาพภายในของโครงการบัณฑิตศึกษา 3)กลยุทธ์เชิงรุกเพิ่มช่องทางและสร้างเครือข่ายด้านประชาสัมพันธ์ 4)กลยุทธ์สนับสนุนและเสริมสร้างจิตวิญญาณในการประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคลากร 5)กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อการตลาด และ 6)กลยุทธ์การเพิ่มความสามารถด้านการสื่อสารen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการประชาสัมพันธ์en_US
dc.subjectโครงการบัณฑิตศึกษาen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.title.alternativePublic Relations Strategies of Graduate Study Project, Dhonburi Rajabhat Universityen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก579.14 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ912.02 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ54.62 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ601.55 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.91 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 29.33 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3384.43 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 42.37 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.34 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม332.39 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก7.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.