Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1340
Title: ความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวของผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่า ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Burmese worker's satisfaction towards tourism atractions in Samut Prakan province
Authors: สุวรรณา, นาถนวผดุง
Natnawaphadung, Suwanna
Keywords: แหล่งท่องเที่ยว
แรงงานต่างด้าว
แรงงานพม่า
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ 2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวของกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าฯ 3)เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวของผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าฯ 4)เพื่อศึกษาแนวทางสร้างเศรษฐกิจรายได้จากการท่องเที่ยวของผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวต่างด้าวชาวพม่าผู้มีประสบการณ์การท่องเที่ยว โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้แก่ ชั้นที่ 1 เลือกนักท่องเที่ยวต่างด้าวชาวพม่าผู้มีประสบการณ์การท่องเที่ยว ชั้นที่ 2 คัดเลือกอำเภอที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มีแรงงานต่างด้าวชาวพม่าอาศัยอยู่ ได้แก่ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระประแดง และอำเภอเมืองสมุทรปราการ ดังนั้นกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่มีประสบการณ์การท่องเที่ยวใน 3 อำเภอ จำนวน 322 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและมีค่าความเชื่อมั่น= .81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ ประการที่ 1 พบว่าแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ สถานตากอากาศบางปู สวนสาธารณะและสวนพฤกษาชาติ ศรีนครเขื่อนขันธ์ วัดพระสมุทรเจดีย์ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ เมืองโบราณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า วัดอโศการาม ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์จังหวัดสมุทรปราการ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านขุนสมุทรจีน ประการที่ 2 ความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.59) จำแนกรายด้านพบว่า ด้านสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.60) ด้านการเดินทางอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.55) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.64) ประการที่ 3 ผลการเปรียบเทียบปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลที่มีต่อความพึงพอใจ ต่อแหล่งท่องเที่ยว พบว่า (1) ผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่มีเพศต่างกัน ได้แก่ เพศหญิง (ค่าเฉลี่ย=4.65) เพศชาย (ค่าเฉลี่ย=4.54) มีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยว โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2)ผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่มีอายุต่างกัน มีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยว โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3)ผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยว โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประการที่ 4 แนวทางสร้างเศรษฐกิจรายได้ จากการท่องเที่ยวของผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าฯ ทางสำนักงาน การท่องเที่ยวฯได้ทำความร่วมมือกับนิคมอุตสาหกรรมบางปู โดยเสนอให้มีโปรแกรมการจัดทัวร์พักผ่อนประจำปีในราคาพิเศษกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อให้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้มากขึ้น อีกทั้งเป็นสวัสดิการเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน เป็นต้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1340
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก530.23 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ778.57 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ26.58 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ611.55 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1870.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 25.24 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3227.66 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.2 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.01 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม774.86 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.