Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1343
Title: หลักอริยสัจ 4 กับการพัฒนาด้านการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Other Titles: The four noble truths and study development of the Dhonburi rajabhat students
Authors: ประพันธ์, สหพัฒนา
Sahapatthana, Prapan
Keywords: อริยสัจ 4
พัฒนาการด้านการเรียน
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชัฏธนบุรี
Issue Date: 2015
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1).เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2).เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลท่มีผลต่อการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 3).เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการนำหลักอริยสัจ 4 มาใช้เพื่อการพัฒนาด้านการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีทั้ง 4 คณะรวมกันจำนวน 384 คน โดยวิธีสุ่มแบบชั้นภูมิตามคณะจากประชากรนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีทั้งสิ้น 9,186 โดยใช้แบบสอบถามถึงการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจจำนวน 4 หมวดรวมทั้งสิ้น 40 ข้อ โดยใช้ค่าสถิติคือ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าเบี่ยงเบน (SD) ค่าสถิติ t-test และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย ครูผู้สอน และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1).นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรีมีระดับการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.57) โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.55 นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีมีระดับการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 ในด้านการรู้จักทุกข์สูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.68) ซึ่งอยู่ในระดับมาก และมีระดับการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 ในด้านการรู้จักสมุทัยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.45) ซึ่งถือว่ามีการปฏิบัติตนในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกันนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีมีระดับการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 ในด้านการรู้จักนิโรธในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.60) และมีระดับการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 ในด้านการรู้จักมรรคในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.57) 2).สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 แล้วพบว่านักศึกษาที่มีชั้นปี ๕ระ ระดับผลการศึกษาที่แตกต่างกันมีระดับการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 ที่แตกต่างกัน แต่นักศึกษาที่มีเพศ ระดับรายได้และระดับความศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่แตกต่างกันไม่มีระดับการปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ 4 ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3).อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาต่างๆควรมีแนวทางในการสอนที่เน้นกรอบแนวคิดแบบมีคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุและผลและกำหนดชัดเจนในกรอบ TQF ของหลักสูตรการสอนควรมีรูปแบบการศึกษาแบบกรณีศึกษาที่ยกปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันนักศึกษาและวิเคราะห์ให้เห็นถึงสาเหตุที่มาพร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นอย่างสมเหตุผลที่ให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการเรียนได้จริง การจัดการด้านกิจการนักศึกษาต้องให้นักศึกษาได้ศึกษาถึงปัญหาต่างๆในสังคมปัจจุบันที่นักศึกษาต้องพบในชีวิตประจำวันจริงและจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้คิดร่วมกันในการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นอย่างชาญฉลาด
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1343
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก390.86 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ393.97 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.12 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1816.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 28.51 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3873.72 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 49.98 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53.57 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม245.66 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.