Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1473
Title: ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Other Titles: Causal Factors Influencing Learning Achievement of Undergraduate Students Faculty of Education Dhonburi Rajabhat University
Authors: พิศุทธิภา, เมธีกุล
Keywords: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาชีพครู การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน การรับรู้พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ และลักษณะทางกายภาพทางการเรียนที่มีต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2) ศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยมีพฤติกรรมตั้งใจเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพมหานคร ชั้นปีที่ 1 – 5 ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดมาตรประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 5 ฉบับ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) ตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อเจตคติต่อวิชาชีพครู คือ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.43 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียน คือ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน และเจตคติต่อวิชาชีพครู มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.34 และ 0.32 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียน คือ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.14 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ พฤติกรรมตั้งใจเรียน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.18 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1473
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก107.37 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ113.06 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ89.29 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ147.35 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1476.62 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.05 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3576.76 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4562.12 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5415.93 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม417.06 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.