Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1721
Title: แนวทางการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่มีต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติกลับประเทศ กรณีศึกษา : จังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาคร
Other Titles: The Guidelines for preparation of the seafood industry moving towards migrant workers return to the country. Case Study: Samut Songkhram and Samut Sakhon
Authors: เฉลิมชัย, ศุขไพบูลย์
Sukhapaiboon, Chalermchai
สิทธิชัย, ฝรั่งทอง
Farlangthong, Sittichai
วรพจน์, แสงอร่ามรุ่งโรจน์
Sangaramrungroj, Worapot
บัณฑิตา, สุขเจริญ
Sukcharoen, Bantita
ภูธร, กอดแก้ว
Kotkaew, Phtthon
วรพงษ์, โพล้งอยู่
pongyoou, Worrapong
Keywords: อุตสาหกรรมอาหารทะเล
แรงงานข้ามชาติ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
วิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวโน้ม สนับสนุนการวางแผน การสร้างความพร้อมของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานและบริหารทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่มีต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติกลับประเทศ กรณีศึกษา : จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งใช้วิธีการศึกษา 2 วิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ จังหวัดสมุทรสงครามเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั้งหมด จำนวน 25 แห่ง ส่วนจังหวัดสมุทรสาครเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานเพื่อประกอบกิจการในอุตสาหกรรมอาหารทะเล จำนวน 290 แห่ง โดยใช้ตารางสุ่มตัวอย่างความน่าจะเป็นของ Krejcie and Morgan ระดับค่าความคลาดเคลื่อน 5% จำนวน 165 ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่มีศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน และด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 8 คน การวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญในแนวโน้มมี 4 แนวทาง คือ ด้านการจัดโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานและบริหารทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ด้านรูปแบบการแข่งขัน ด้านการพัฒนาของอุตสาหกรรมอาหารทะเลของผู้ประกอบการ เนื่องจากทุกด้านส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยหากเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติกลับประเทศ การวิเคราะห์ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลสู่การกำหนดรูปแบบการแข่งขันระหว่างประเทศของจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานและด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่มีต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติกลับสู่ประเทศส่งผลต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยในจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะนโยบายจากผลการศึกษาไปสนับสนุนการวางแผนการสร้างความพร้อมของการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลของจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร ควรกำหนดกฎระเบียบที่มีความชัดเจน แนวทางการปฎิบัติที่ถูกต้องรัดกุม มีมนุษยชน มีความโปร่งใส มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อีกทั้งควรสนับสนุนแรงงานไทยที่มีฝีมือมากขึ้น นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานเข้ามาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านระบบการขนส่งสินค้าเพื่อลดต้นทุนการผลิต การขยายการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน และตลาดอื่นๆ ต่อไป
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1721
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก112.89 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ184.72 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledegement.pdfกิตติกรรมประกาศ67.8 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ77.74 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1330.01 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.02 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3345.6 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.08 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5614.98 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม160.94 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdf299.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.