Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1851
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทองเจือ, เขียดทอง-
dc.contributor.authorKhiatthong, Thongchue-
dc.contributor.authorชาคริต, เกตุเรืองโรจน์-
dc.contributor.authorKetruangroch, Chakrit-
dc.contributor.authorสมัชชา, อภิสิทธิ์สุขสันติ-
dc.contributor.authorApisitsuksanti, Samutcha-
dc.date.accessioned2023-02-27T08:42:03Z-
dc.date.available2023-02-27T08:42:03Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1851-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมกรุงธนบุรีและแนวความคิดในการออกแบบนิทรรศการดิจิทัลศิลปกรรมกรุงธนบุรี 2) ศึกษารูปแบบการออกแบบนิทรรศการดิจิทัลศิลปกรรมกรุงธนบุรี 3) ศึกษาความพึงพอใจผู้เข้าชมเว็บไซต์นิทรรศการ และผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านเนื้อหาและคุณภาพของการออกแบบนิทรรศการ และข้อเสนอแนะจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) ภาคสนาม (Field Study) การสัมภาษณ์ (Interview) การสนทนากลุ่ม (Focused Group) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การศึกษาความพึงพอใจ (Satisfaction Studies) และศึกษาข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า 1) ศิลปกรรมกรุงธนบุรีถือเป็นศิลปกรรมเพื่อชีวิตและบ้านเมือง เพื่อการบำรุงขวัญประชาชน เพื่อรักษาขนบประเพณีของอาณาจักร เพื่อสืบทอดพระศาสนา ด้วยข้อจำกัดของเหตุการณ์บ้านเมือง ช่างฝีมือ วัสดุอุปกรณ์ และทุนทรัพย์ อีกทั้งได้รับอิทธิพลศิลปะจากชาติพันธุ์และจากหัวเมืองต่าง ๆ ผลงานศิลปะจึงมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา โดยมีรากฐานจากศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่งผลต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ศิลปกรรมกรุงธนบุรีมีทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม มหรสพและการดนตรี และประยุกต์ศิลป์และงานประณีตศิลป์ การออกแบบนิทรรศการนี้มีแนวความคิดคือ “ธน:บูรีวิถีศิลป์” ประกอบด้วย ธนบุรีพอดีนคร ศาสนาพาสร้างสรรค์ สถานการณ์สร้างสมดุล 2) รูปแบบนิทรรศการดิจิทัลศิลปกรรมกรุงธนบุรี มีการใช้อินเตอร์เฟสทั้ง 3 มิติและ 2 มิติ รูปแบบและการใช้สีมีความเป็นไทยระดับปานกลาง มีคำบรรยายไม่เกิน 1 หน้า มีการใช้สื่อคือ ภาพถ่าย วีดีทัศน์ ภาพหมุน และภาพจำลอง 3 มิติ นำเสนอในรูปแบบของแผนที่ลายเส้น 3) ความพึงพอใจต่อนิทรรศการดิจิทัลศิลปกรรมกรุงธนบุรี (ต้นแบบ) ของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าชมนิทรรศการผ่านเว็บไซต์ทั้งในด้านเนื้อหา และด้านคุณภาพการออกแบบนิทรรศการอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจต่อนิทรรศการดิจิทัลศิลปกรรมกรุงธนบุรี (แบบพัฒนา) ของผู้ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งในด้านเนื้อหาและด้านคุณภาพการออกแบบนิทรรศการอยู่ในระดับมาก มีข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการว่า นิทรรศการมีความสวยงามน่าสนใจ ควรพัฒนาเพิ่มให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ควรมีการลดเนื้อหาของนิทรรศการ ควรเพิ่มความเชื่อมโยงกับศิลปะสมัยอื่น และควรศึกษาเพิ่มเติมรูปแบบก่อนการบูรณะen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. research and development institute .en_US
dc.subjectศิลปกรรมen_US
dc.subjectกรุงธนบุรีen_US
dc.subjectนิทรรศการen_US
dc.subjectดิจิทัลen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.subjectศิลปะen_US
dc.titleนิทรรศการดิจิทัลศิลปกรรมกรุงธนบุรีen_US
dc.title.alternativeDigital Exhibition of Thonburi Arten_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก92.92 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ208.75 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ116.02 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ252.56 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.36 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 23.34 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3476.01 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.22 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5357.42 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม299.6 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก27.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.