Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/289
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Opinion on Enhancement of Quality of Work Life of Workers in Industrial Estates in Samutprakan Province
Authors: ธนภัทร, เพชรพรรณ
Phetphun, Thanapat
Keywords: คุณภาพชีวิตการทำงาน - วิจัย
ความพอใจในการทำงาน - วิจัย
Issue Date: 2012
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงาน ตามตัวแปรส่วนบุคคล 3) ศึกษาความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะของผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างสุ่มจากผู้ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่ง คือนิคมอุตสาหกรรมบางปูและนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ปฏิบัติงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง 5 ด้าน และในระดับเห็นด้วยมาก 2 ด้าน โดยด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ส่วนด้านประชาธิปไตยภายในองค์กร มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่ำที่สุด แต่ก็อยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงาน ตามตัวแปรส่วนบุคคล พบว่า ผู้ปฏิบัติงานที่มี อายุ ตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน และขนาดของสถานประกอบการที่ปฏิบัติงานแตกต่างกันโดยภาพรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่มี เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) จากการวิเคราะห์เนื้อหาของความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะของผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 31.5 ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะที่มีความถี่สูงสุด ได้แก่ ควรปรับค่าจ้างทุกปี (96 ราย) รองลงมาคือ ต้องการเบี้ยขยัน (82 ราย) ต้องการความเป็นธรรมในการพิจารณาผลงาน (75 ราย) และต้องการค่าจ้างที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน (74 ราย)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/289
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก354.74 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ341.66 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ104.13 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ37.35 kBAdobe PDFView/Open
table ofcontents.pdfสารบัญ861.44 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.54 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 29.32 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3812.95 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 46.15 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 53.07 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม261.9 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.