Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/354
Title: การปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยโซ่งบ้านตลาดควาย อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
Other Titles: The Cultural Adaptation of Thai Song in Ban Talat Khway Jombung District, Rachaburi Province
Authors: น้ำทิพย์, ภูธนชัย
Poothanachai, Namtip
Keywords: การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
โซ่ง - ความเป็นอยู่และประเพณี
ไทยโซ่ง
Issue Date: 2007
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา ลักษณะพื้นฐานและการปรับตัวทางวัฒนธรรม ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรับตัวทางวัฒนธรรมและผลของการปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยโซ่ง บ้านตลาดควาย อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 35 คน โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์และวิธีการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้วิธีสรุปและเชื่อมโยงเนื้อหาประเด็นสำคัญต่างๆ และนำเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ไทยโซ่งที่บ้านคลาดควาย อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี อพยพมาจากบ้านดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก ประมาณ 150 ปี อพยพมาครั้งแรกประมาณ 20 ครอบครัว โดยการนำของปู่ฮอด ลืมกลืน ลักษณะพื้นฐานทางวัฒนธรรมมีสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะแก่การเพาะปลูกและการคมนาคม การปรับตัวทางวัฒนธรรมมี 2 ประเภท คือ การปรับตัวทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม และการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรับตัวมี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในชุมชน การเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากร การเข้าร่วมกิจกรรมชึมชนการเข้าร่วมกิจกรรมส่วนบุคคล การสืบทอดภูมิปัญญา การดูแลรักษาสุขภาพ ความขัดแย้งทางความคิดเกิดจากปัญหาของการเมืองท้องถิ่น ความต้องการที่จะเพิ่มรายได้จากการประกอบอาชีพ ปัจจัยภายนอก คือ นโยบายของภาครัฐกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจสมัยใหม่ ชาวบ้านนิยมแสวงหาเทคโนโลยีราคาแพงและส่งบุตรหลานศึกษาระดับสูงขึ้น อีกทั้งสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตชุมชนมาก ทำให้เกิดรูปแบบคงเดิม คือความเชื่อเรื่องผี การนับถือ ผีบรรพบุรุษควบคู่กับความเชื่อในพระพุทธศาสนารูปแบบผสมผสาน ได้แก่ การประกอบอาชีพและสร้างที่อยู่อาศัย การรำโทนในพิธีเซ่นผีเจ้าพ่อตลาดควาย รูปแบบใหม่ ได้แก่ การใช้ภาษาไทยแทนภาษาไทยโซ่ง การแต่งกายสมัยนิยม และการรำโทนพร้อมกับการแจงของขวัญผู้สูงอายุในงานวันสงกรานต์
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/354
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title1.pdfปก171.24 kBAdobe PDFView/Open
Title2.pdfหน้าอนุมัติ110.87 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ300.66 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ188.12 kBAdobe PDFView/Open
Table_of_contents.pdfสารบัญ445.2 kBAdobe PDFView/Open
Unit1.pdfบทที่ 11.45 MBAdobe PDFView/Open
Unit2.pdfบทที่ 26.7 MBAdobe PDFView/Open
Unit3.pdfบทที่ 3839.27 kBAdobe PDFView/Open
Unit4.pdfบทที่ 411.39 MBAdobe PDFView/Open
Unit5.pdfบทที่ 5102.11 MBAdobe PDFView/Open
Unit6.pdfบทที่ 62.26 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม814.84 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.