Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/547
Title: การมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Teachers'Participation in the Internal Quality Assurance of Basic Education Schools under The Bangkok Metropolitan Administration
Authors: มานพ, วงษ์น้อย
Wongnoi, Manop
Keywords: ประกันคุณภาพการศึกษา - วิจัย
Issue Date: 2011
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2)เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษาของครูประสบการณ์ในการทำงานของครู และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที และค่าเอฟ เพื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1)ระดับการมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีส่วนร่วมในด้านดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานศึกษาของสถานศึกษา 2)ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษาของครู ประสบการณ์ในการทำงานของครู และขนาดของโรงเรียน พบว่า การมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำแนกตามระดับการศึกษาของครูโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำวานของครู โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การจัดให้มีการประเมินคุณภาพพายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายนอก และการจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องไม่แตกต่างกัน 2 ด้าน คือ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/547
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก604.37 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ331.7 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ112.37 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ39.12 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.15 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.23 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 29.38 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3251.81 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 41.18 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 54.53 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม213.81 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.