Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/555
Title: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง “การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2003” ในสาระเทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ
Other Titles: ทยาลัยราชภัฏธนบุรี Learning Achievement of Matthayom Suksa I Students, St.Joseph Bangna School Who Used Computer Assistant Instruction “Using Microsoft PowerPoint 2003 Program”; A Part of Technology for Work and Occupation Content
Authors: พันธ์ศักดิ์, นาคเนียม
Naknieam, Pansak
Keywords: ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยท์ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
พาวเวอร์พอยท์ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน - วิจัย
วิทยานิพนธ์
PowerPoint
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง “การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2003” ในสาระเทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น 4) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักเรียนที่เรียนตามแผนการ สอนปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม (32 คน) และ กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม (32 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง “การใช้ โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2003” แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียน กระบวนการวิจัยเริ่มจากการให้นักเรียนกลุ่มทดลองได้ศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และให้กลุ่มควบคุมเรียนเนื้อหาเดียวกันตามแผนการสอนปกติ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อ นักเรียนทั้งสองกลุ่มเรียนจบบทเรียนแล้ว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลคะแนนจากการทำแบบฝึกหัด จากแบบทดสอบ ก่อนเรียน จากแบบทดสอบหลังเรียน และจากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลอง รวมถึง คะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มควบคุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 89.64/92.86 ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน 80/80 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ สร้างขึ้นโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด 3) จากการเปรียบเทียบความแตกต่างของ คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และ4) จากการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียนพบว่า นักเรียนกลุ่ม ทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/555
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก147.37 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ78.03 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ114.98 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ75.38 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ207.67 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1146.44 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.01 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3240 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4254.06 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5184.47 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม160.62 kBAdobe PDFView/Open
Appendix .pdfภาคผนวก5.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.