Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/562
Title: การสร้างเสริมแรงจูงใจที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน ของพนักงานโรงไฟฟ้าบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Reinforcement of Inspiration Affecting Change of Employees’ Working Behavior at Bangpu Power Plant, Amphur Mueang, Samutpragan
Authors: พิเชฏฐ์, วิงวอน
Wingworn, Pichet
Keywords: การจูงใจในการทำงาน - วิจัย
การทำงาน - วิจัย
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป)
การค้นคว้าอิสระ
วิทยานิพนธ์
พนักงานโรงไฟฟ้า
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเสริมแรงจูงใจที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การทำงานของพนักงาน โรงไฟฟ้าบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อเปรียบเทียบการสร้าง เสริมแรงจูงที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล กลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า การสร้างเสริมแรงจูงใจที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มปัจจัย พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มปัจจัยค้ำจุน และกลุ่ม ปัจจัยจูงใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กลุ่มปัจจัยค้ำจุน อยู่ในระดับมาก ทุกรายการ 3 อันดับแรก คือ ความ ปลอดภัยในการปฏิบัติงานทำให้มีความตั้งใจในการทำงาน ความสามารถในการดำเนินงานและบริหารของ ผู้บังคับบัญชา และองค์การกำหนดนโยบายและการบริหารงานบุคคลชัดเจน สำหรับกลุ่มปัจจัยจูงใจ พบว่า อยู่ใน ระดับมาก จำนวน 18 รายการ 3 อันดับแรก คือ ความพึงพอใจและสุขใจเมื่อทำงานสำเร็จ การได้ศึกษาดูงานและ การสัมมนา และการได้รับการยอมรับในความสามารถจากผู้บังคับบัญชา ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความ คิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างเสริมแรงจูงใจที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน จำแนกตาม ลักษณะส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา และการอบรม สัมมนาต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวม กลุ่มปัจจัยจูงใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ พนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวม กลุ่มปัจจัยค้ำจุน แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พนักงานที่มีการอบรมสัมมนาต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวม กลุ่มปัจจัยจูงใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/562
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก154.03 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ74.71 kBAdobe PDFView/Open
Abstract 1.pdfบทคัดย่อ82.24 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ70.93 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ142.83 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1136.44 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2419.4 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3134.9 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4796.95 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5194.73 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ9.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.