Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/654
Title: เจตคติและความเข้าใจของพุทธบริษัทในชุมชนใกล้เคียงวัตรทรงธรรมกัลยาณี
Other Titles: Attitudes and Understanding of Buddhists in Community Nearby Watr Songdhammakalyani About Bhikkhuni
Authors: ฤทัย, มนต์ปาริชาติ
Monparichati, Ruethai
Keywords: เจตคติ,พุทธศาสนา,วัดทรงธรรมกัลยาณี,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2008
Publisher: Dhonburi Rajabhat University.Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติและศึกษาความเข้าใจต่อภิกษุณีตามการรับรู้ของพุทธ บริษัทในชุมชนใกล้เคียงวัตรทรงธรรมกัลยาณี ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 2 วิธี คือ วิธีการ เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลักคือพระภิกษุ 5 รูป และคฤหัสถ์ที่ไปร่วมกิจกรรมที่ วัตรจำนวน 10 ท่าน ข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงวัตรทรงธรรม กัลยาณี 211 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสร้างข้อสรุป การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ และค่าความถี่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีภิกษุณีอยู่ในปัจจุบัน เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ คิดเป็นร้อยละ 43.13 กลุ่มที่ 2 รู้สึกเห็นด้วยกับการมี ภิกษุณีอยู่ในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 36.02 และกลุ่มสุดท้ายรู้สึกไม่เห็นด้วยกับการมีภิกษุณีอยู่ในปัจจุบัน คิดเป็น ร้อยละ 20.85 จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า กลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง ภิกษุณีนั้น จากผลการวิจัยทำให้ทราบว่าปัจจัยที่ทำให้พุทธบริษัทมีความคิดเช่นนี้ เพราะว่าภิกษุณีไม่ได้มีบทบาท ที่เกี่ยวข้องกับสังคมหรือตัวของชุมชนโดยตรง การมีอยู่ของภิกษุณีอาจไม่ใช่ปัจจัยที่กระทบต่อการขับเคลื่อนทาง สังคมให้ดีขึ้นหรือต่ำลง จากมุมมองของพุทธบริษัทเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พุทธบริษัทในชุมชนใกล้เคียง วัตรทรงธรรมกัลยาณีรู้สึกเฉย ๆ กับเรื่องของภิกษุณี ในกลุ่มเจตคติที่มีความคิดเห็นรองลงมา คือกลุ่มที่เห็นด้วย จากการวิจัยพบว่าพุทธบริษัทในกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีการศึกษาดี คือมองจากสังคมเป็นหลักว่า การมีภิกษุณีเป็นการ สร้างทางเลือกใหม่ให้กับสังคมซึ่งไม่มีผลกระทบในทางลบ ทำให้พุทธบริษัทในกลุ่มนี้มีความคิดเห็นหรือเจตคติ ในเชิงบวกต่อภิกษุณี ในกลุ่มสุดท้ายที่มีเจตคติที่ไม่เห็นด้วย พบว่าเป็นพุทธบริษัทที่มีความรู้ความเข้าใจดีเกี่ยวกับ คำสอนทางพระพุทธศาสนา จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาเป็นตัวแปร หลักที่ทำให้พุทธบริษัทในชุมชนใกล้วัตรทรงธรรมกัลยาณีมีความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยหรือมีเจตคติเชิงลบต่อ ภิกษุณี โดยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในด้านความเข้าใจเกี่ยวกับตัวภิกษุณีจากพระไตรปิฎก ของพุทธ บริษัทในชุมชนใกล้เคียงวัตรทรงธรรมกัลยาณีนั้น จากผลการวิจัยทำให้ทราบว่าพุทธบริษัทอยู่ในเกณฑ์ขาดความ เข้าใจในเรื่องภิกษุณี
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/654
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก125.05 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ73.75 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ107.78 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ70.38 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ147.62 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1224.96 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2655.97 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3181.84 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4396.2 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5363.49 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม166.44 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.