Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/659
Title: การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระนาฏศิลป์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง กระตั้วแทงเสือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A Development of School Curriculum, Dramatic Arts Strand, Gratao Tang Seour on learning unit for Grade 6 Students in Thonburi District, Bangkok.
Authors: ศิริวรรณ, ป้องคำสิงห์
Pongkumsing, Siriwan
Keywords: การพัฒนาหลักสูตร,สถานศึกษา,สาระนาฏศิลป์,กระตั้วแทงเสือ,ธนบุรี,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระนาฏศิลป์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระตั้วแทงเสือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีขั้นตอนการ พัฒนาหลักสูตร 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาความต้องการและพัฒนาเนื้อหาสาระ เรื่อง กระตั้วแทงเสือ 2) การสร้าง หลักสูตรฉบับร่าง 3)การประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้ 4) การประเมินหลักสูตรระหว่างการทดลองใช้ 5) การ ประเมินหลักสูตรหลังการทดลองใช้ และ 6) การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร โดยทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 26 คน โดย วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน โครงร่างหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ วิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปกครองร้อยละ 88.45 และนักเรียนทุกคนเห็นด้วยและมีความต้องการให้นำ กระตั้วแทงเสือมาพัฒนาหลักสูตร เนื้อหาที่พัฒนา ประกอบด้วย ประวัติความเป็นมา เนื้อเรื่อง องค์ประกอบของ การแสดง ตัวละครและท่าทางการรำ เพลงร้องและจังหวะ การแต่งกาย ขั้นตอนการแสดง โอกาสที่แสดง 2) หลักสูตรฉบับร่าง ประกอบด้วย เอกสารหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร 3) ผลการประเมินหลักสูตร ก่อนนำไปใช้ พบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันในระดับมาก 4) ผลการประเมินหลักสูตร ระหว่างการทดลองใช้ พบว่า พฤติกรรมระหว่างเรียนของนักเรียน อยู่ในระดับ ดีมาก มีปัญหาและอุปสรรคใน เรื่องระยะเวลาและความเพียงพอของสื่อที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน 5) ผลหลังการทดลองใช้หลักสูตร สถานศึกษา พบว่า นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะปฏิบัติผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 6) ผลจากการ ประเมินหลักสูตรระหว่างการทดลองใช้ได้นำมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรโดยเพิ่มระยะเวลาในแผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การประดิษฐ์หัวเสือ จำนวน 2 ชั่วโมง และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 การรำประกอบการแสดง จำนวน 2 ชั่วโมง และการกำหนดแนวทางการจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/659
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก154.1 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ75.38 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ117.67 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ124.62 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ172.86 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1194.61 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 21.06 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3402.55 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4632.23 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5231.28 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม194.41 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก59.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.