Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/88
Title: ศึกษาการพัฒนาของผู้เรียนระบบทวิภาคี สาขาวิชา เครื่องกล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
Other Titles: The Study of Learners' Development in Dual Vocational Training of Mechanical Major in Certificate Level under Vocational Education Commission of Samutprakarn Province for Access ASEAN
Authors: อำนาจ, สิทธิรักษ์
Sittiruk, Amnaj
Keywords: การศึกษา หลักสูตร
หลักสูตรวิชาชีพ
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความพร้อมของนักเรียนที่เรียนระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเครื่องกล ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสู่ประชาคมอาเซียน 2) ศึกษาผลกระทบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่มีต่อแรงงานอาชีวศึกษษไทย 3) นำเสนอแนวทางพัฒนานักเรียนที่เรียนระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกล ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าแผนก ครูผู้สอน 20 คน นักเรียนที่เรียนระบบทวภาคี 48 คน ผู้ประกอบการ 8 คน รวมเป็น 76 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย เป็นแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้คือร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพความพร้อม ของนักเรียนที่เรียนระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเครื่องกล ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านการสื่อสาร ขาดความพร้อมในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ด้านภาษาอาเซียนหรือภาษาอื่นๆในสถานศึกษาและสถานประกอบการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ขาดความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน การติดต่อสื่อสารและเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านทักษะวิชาชีพ ขาดความพร้อมในการเพิ่มทักษะวิชาชีพ การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและมีวิธีคิดที่ถูกต้อง และด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ขาดความพร้อมในความรู้ ด้านการเมือง ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียน 2) ผลกระทบกับการเข้ามาของประชาคมอาเซียนมีผลต่อแรงงานอาชีวศึกษาไทย ด้านการสื่อสาร จำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานภาษาอังกฤษและสามารถใช้ภาษาอาเซียนได้มากกว่า 2 ภาษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องมีความรู้ความสามารถพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเรียนรู้ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ต้องทันสมัย ด้านทักษะวิชาชีพ ต้องมีการปรับหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการเพื่อพัฒนาทักษะที่ต้องการให้เท่าเทียมกับประชาคมอาเซียนและด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนต้องมีความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนทุกด้านและให้นักเรียนตระหนักในเรื่องแรงงานเสรีที่จะมีการแข่งขันจะมีผลกระทบต่อแรงงานอาชีวศึกษาไทยและ 3) แนวทางการพัฒนานักเรียนระบบทวิภาคีสาขาวิชาเครื่องกล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) อาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านการสื่อสาร ให้มีการจัดฝึกอบรมพื้นฐานภาษาอาเซียน ส่งเสริมการใช้การสื่อสารภาษาในสถานศึกษาและสถานประกอบการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจัดทำข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีมาตรฐานแรงงานที่จะเข้ามาแข่งขันกับแรงงานไทยในอนาคต ด้านทักษะวิชาชีพ ควรเพิ่มทักษะให้เกิดความชำนาญและให้มีคุณภาพทัดเทียมประชาคมอาเซียนและมีการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มทักษะวิชาชีพให้มากขึ้น และด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ควรจัดอบรมให้ความรู้ประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ ที่จะมีผลต่อแรงงานอาชีวศึกษาไทย เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/88
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก361.86 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ337.53 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ142.97 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ31.14 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ88.62 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.18 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 23.31 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.04 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 45.42 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 51.16 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม500.48 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.