Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/941
Title: ศิลปะการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรม
Other Titles: The Art of Leading a Happy Life According to Buddhist Beliefs
Authors: ถนัด, ตรัยเลิศวิเชียร
Trailertvichien, Tanad
Keywords: การดำเนินชีวิต,พุทธศาสนา,ความสุข,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: งานวิจัยเรื่อง ศิลปะการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมชาติชีวิตของมนุษย์ จุดหมายชีวิตของมนุษย์ ความสุขและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรมว่าเป็นอย่างไร แนวทางในการดำรงชีวิตให้มีความสุขต้องทำอย่างไร และแบบอย่างของผู้ดำรงชีวิตมีความสุขมีลักษณะอย่างไร ผลการศึกษาทราบว่า พุทธธรรมคือคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นคำสอนที่มุ่งให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลทุกประเภททั้งบรรพชิต (นักบวช) และคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน) คือครอบคลุมสังคมทั้งหมด เริ่มต้นพุทธธรรมแสดงให้เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์เท่าที่ปรากฏในปัจจุบันโดยไม่สนใจที่จะแสวงหาคำตอบทางอภิปรัชญาอันเกี่ยวกับความเป็นมาของชีวิตมนุษย์ก่อนหน้านี้เกินกว่าความจำเป็นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาชีวิตหรือการดับทุกข์อันเป็นจุดหมายของชีวิต เมื่อพุทธธรรมแสดงชีวิตตามสภาพที่เป็นไปตามธรรมชาติเป็นทุกข์เป็นความจริงที่จะต้องยอมรับแล้วค้นหาสาเหตุของความทุกข์ คือตัวปัญหาอันเกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจในชีวิตที่เรียกว่า อวิชชา ขั้นต่อไปก็เป็นการแสวงหาจุดหมายของการดำรงชีวิตคือความสุข พุทธธรรมแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภท คือ โลกิยสุขและโลกุตตรสุข พุทธธรรมให้ความสำคัญแก่ความสุขทั้งสองประเภท คือ ในด้านโลกิยสุขนั้นเห็นความสำคัญและได้แสดงประโยชน์ในปัจจุบันหรือความสุขที่มนุษย์ควรแสวงหาคือประโยชน์สุขทางเศรษฐกิจ สังคมไว้อย่างสมบูรณ์ทุกแง่มุม เช่น การดำรงชีวิตในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเองนั้นสอนให้มนุษย์เป็นผู้ลิขิตชีวิตตนเอง และมีตนเองเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุด ความสำเร็จในชีวิตเกิดจากความเพียรพยายามของตนเอง สอนให้มีความขยัน รู้จักเก็บออม รู้จักคบเพื่อนที่ดี รู้จักใช้จ่ายหรือครองชีพอย่างเหมาะสม เป็นต้น จากการศึกษา ทำให้รู้ว่าพุทธธรรมยังแสดงประโยชน์ในอนาคตหรือศีลธรรมคุณธรรมเป็นคู่แฝดกับประโยชน์ปัจจุบัน กล่าวคือนำเอาศีลธรรมคุณธรรมมาประกอบเศรษฐกิจและสังคมประโยชน์ในอนาคต เช่น เชื่ออย่างมีเหตุผล มีศีล ละเว้นความชั่ว มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีปัญญารู้เท่าทัน รู้จักพิจารณา เป็นต้น โดยสรุปแล้วศิลปะการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรมคือการมีความงดงามในเบื้องต้นด้วยศีลบริสุทธิ์(กายและวาจาบริสุทธิ์) มีความงดงามในท่ามกลางด้วยการมีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความงดงามในเบื้องปลายด้วยการสมบูรณ์ด้วยปัญญา
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/941
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก498.13 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ530.61 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทค้ดย่อ182.46 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ53.25 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ552.55 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 23.5 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.3 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 429.57 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5920.8 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม805.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.