Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1010
Title: การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: A Synthesis of Research of School Public Relation with Content Analysis and Meta Analysis
Authors: ภัฑรีภรณ์, วงภูธร
Wongphuthorn, Patthareepon
Keywords: การสังเคราะห์งานวิจัย,การประชาสัมพันธ์,สถานศึกษา,การวิเคราะห์เนื้อหา,การวิเคราะห์อภิมาน,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา 2) สังเคราะห์วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์อภิมาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปีการศึกษา 2541-2556 และมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 80 เรื่อง ซึ่งผลการวิจัยมีความสมบูรณ์และเหมาะสมกับการสังเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา จำนวน 80 เรื่อง ในขณะที่ผลการวิจัยมีค่าสถิติที่มีความสมบูรณ์และเหมาะสมกับการสังเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์อภิมานมีเพียง 27 เรื่อง โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้ 1) เป็นผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2541-2556 เรื่องการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา ซึ่งเป็นงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 2) เลือกวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่ศึกษาตัวแปรเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา 3) เลือกวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่ศึกษาตัวแปรเกี่ยวกับการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา 4) ศึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาเชิงเปรียบเทียบและเชิงสหสัมพันธ์ที่มีค่าสถิติ t, F, r หรือค่าไคสแควร์ ที่มีค่าสถิติที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์อภิมาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะของวิทยานิพนธ์ แบบบันทึกรายละเอียดของวิทยานิพนธ์ และแบบประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์อภิมานใช้แนวคิดของกลาส (Glass) ในการคำนวณค่าขนาดอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบตามเพศพบว่านักวิจัยเพศหญิงทำงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นแหล่งผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคามปีการศึกษาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ ปีการศึกษา 2551-2556 ประเภทงานวิจัยที่พบมากที่สุด คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยมากที่สุด สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลมากที่สุด คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐานค่าที และค่าเอฟ ผลสรุปที่ได้จากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ศึกษาการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาและมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 2) ผล การวิเคราะห์อภิมานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา ที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ประสบการณ์ทางการบริหาร รองลงมา คือ สถานภาพของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เพศ บุคลิกภาพ ขนาดของสถานศึกษา ระดับการศึกษา/วุฒิการศึกษา ที่ตั้งของสถานศึกษา และประสบการณ์ทำงาน การดำเนินงาน การประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา ด้านที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการจัดการประชาสัมพันธ์ รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติในการประชาสัมพันธ์ ด้านการให้บริการประชาสัมพันธ์ ด้านการประเมินผลและการปรับปรุงงาน ด้านแนวปฏิบัติในการประชาสัมพันธ์ ด้านการจัดระบบการผลิตสื่อการประชาสัมพันธ์ ด้านสถานภาพ ด้านการประเมินผลและ การปรับปรุงงาน การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา ด้านที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้าน การประเมินผลงาน รองลงมา คือ ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผน ด้านการจัดหาทรัพยากร ด้านการจูงใจให้ปฏิบัติงาน ปัญหาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา ด้านที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการจูงใจให้ปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงานและการติดต่อสื่อสาร ด้านการจัด การทรัพยากร และด้านการกำหนดปัญหา
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1010
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก136.21 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ47.45 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ120.23 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ47.05 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ110.89 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1186 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2743.61 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3163.36 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4841.52 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5215.23 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม246.45 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.