Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1040
Title: ปัจจัยทางการบริหารการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้เทคโนโลยีสนเทศของฝ่ายวิชาการ ในสถานศึกษาสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
Other Titles: Factors of Educational Administration that Related to the type of Usage of Information Technology by Academic Division in Schools under the Fine Arts Department, Ministry of Culture
Authors: กิตติ, ตรีโภคา
Tripoka, Kitti
Keywords: การบริหารการศึกษา,เทคโนโลยีสารสนเทศ,กรมศิลปากร,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2005
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฝ่ายวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารการศึกษาประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ วัสดุ การจัดการและวัฒนธรรมองค์การ กับลักษณะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฝ่ายวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการคัดเลือกจากประชากรแบบเจาะจง จากผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ทางด้านวิชาการของสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 16 แห่ง รวมทั้งสิ้นจำนวน 465 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าลักษณะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฝ่ายวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ด้าน ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการจัดเก็บข้อมูลและด้านการติดต่อสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง โดยพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดเก็บข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับน้อย และปัจจัยทางการบริหารการศึกษา ประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ วัสดุ การจัดการและวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับลักษณะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาอย่างละเอียดถึงตัวปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฝ่ายวิชาการและฝ่ายอื่นๆในรูปแบบอื่นที่เหมาะสม เช่น การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและการสนทนาแบบกลุ่ม เป็นต้น เพื่อทีจะได้รับข้อมูลที่หลากหลายและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1040
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก1.02 MBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ533.13 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ730.05 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ34.7 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ726.16 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 13.05 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 210.01 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3811.96 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.16 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.31 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม934.93 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก19.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.