Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1160
Title: พฤติกรรมการซื้อและความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างประเทศต่อเครื่องประดับเงินไทย กรณีศึกษา : บริษัท ครีเอชั่น บีจูส์ จำกัด
Other Titles: Purchasing Behaviors and Satisfactions of Foreign Customers on Thai Silver Ornaments, A Case Study of : Creation Bijoux Co.,Ltd
Authors: อันธิกา, คำพราว
Khampraw, Anthika
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค
ความพึงพอใจ
ชาวต่างประเทศ
เครื่องประดับเงิน
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2006
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาพฤติกรรมก่ารซื้อของลูกค้าชาวต่างประเทศต่อเครื่องประดับเงินไทย (2)ศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างประเทศต่อเครื่องประดับเงินไทย (3)ศึกษาระดับของแต่ละปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าชาวต่างประเทศต่อเครื่องประดับเงินไทยและ (4)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าชาวต่างประเทศต่อเครื่องประดับเงินไทย กรณีศึกษาคือ บริษัท ครีเอชั่น บีจูส์ จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มลูกค้าขาวต่างประเทศที่ซื้อสินค้าประเภทเครื่องประดับเงินของบริษัท ครีเอชั่น บีจูส์ จำกัด จำนวน300 ราย แต่ได้รับการตอบกลับจำนวน 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 66.66 การสำรวจใช้แบบสอบถาม โปรแกรมสถิติที่ใช้ในคือ โปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า (1)ในแต่ละด้านของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจรวม พบว่า มีความคิดเห็นในระดับมากทั้งหมด และด้านความพึงพอใจโดยรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับที่มีความสำคัญมาก (2)จากการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าชาวต่างประเทศต่อเครื่องประดับเงินไทย สรุปได้ดังนี้ เครื่องประดับเงินไทยที่ลูกค้าชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ซื้อมากที่สุดได้แก่ สร้อยคอ การสั่งซื้อต่อครั้งมากที่สุดได้แก่ 100 ชิ้น/คู่ และจำนวนครั้งส่วนใหญ่ คือ จำนวน 2 ครั้ง/ปี และมีการชำระเงินในการสั่งซื้อโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารมากที่สุดนอกจากนี้ในกรณีที่เมื่อเครื่องประดับเงินไทยมีราคาลดลง ลูกค้าชาวต่างประเทศส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมในการซื้อมากขึ้น (3)จากการทดสอบสมมติฐานที่ 1 เรื่องปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดมีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับระดับความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างประเทศต่อเครื่องประดับเงินไทย พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านการให้บริการของพนักงานขาย มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ (4)จากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เรื่องปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดมีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมซื้อของลูกค้าชาวต่างประเทศต่อเครื่องประดับเงินไทย พบว่า ปัจจัยด้านการบริการของพนักงานขายมีผลต่อการจำแนกกลุ่มตามจำนวนการสั่งซื้อเครื่องประดับ (5)จากการทดสอบสมมติฐานที่ 3 เรื่องการมีความแตกต่างเฉลี่ยของความพึงพอใจระหว่างกลุ่มประชากรศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ พบว่า ปัจจัยของกลุ่มประชากรศาสตร์ที่สอดคล้องกับสมมติฐาน มีดังนี้ เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้และประเทศ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1160
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก574.08 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ575.47 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ139.59 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ23.33 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ121.93 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 13.05 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 29.6 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3748.19 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.42 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.48 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม117.6 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.