Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1478
Title: แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพพลังงานสูง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: The Guidelines for Enhancing Competitiveness of Thailand air conditioning manufacturers With the high energy efficiency (No. 5) in Bangkok and Vicinity
Authors: สิทธิชัย, ฝรั่งทอง
Farlangthong, Sittichai
Keywords: เครื่องปรับอากาศ
ความสามารถในการผลิต
พลังงาน
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนาเครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพพลังงานสูง และ 2) เพื่อหาแนวทางการสร้างกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพพลังงานสูงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าของกิจการซึ่งเป็นผู้ประกอบการผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศสัญชาติไทยที่มีการผลิตเครื่องปรับอากาศค่าประสิทธิภาพพลังงานสูง จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ที่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.62 เป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการพัฒนาเครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพสูงมี 5 ประเด็น คือ 1. การประกาศเรื่อง ห้ามโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศใช้สารทำความเย็นเอชซีเอฟซี-22 ให้เปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็น R401a และ R32 2.การขาดแคลนแรงงานและช่างเทคนิคที่มีทักษะ 3. หน่วยงานภาครัฐไม่ได้ตอบโจทย์วิจัยงานภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ 4. การแสวงหาวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่มีคุณภาพจะนำมาประกอบเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง และ 5.ขาดแหล่งเงินลงทุนในการสร้างห้องทดสอบประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (SWOT Analysis) ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพพลังงานสูงสัญชาติไทย พบว่า จุดแข็ง ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศไทยมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศมายาวนาน มีโรงงานผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำจนถึงปลายน้ำกว่าร้อยละ 90 และบุคลากรส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีฝีมือดี จุดอ่อน ขาดแคลนคนงานและช่างเทคนิคที่มีฝีมือ ขาดการวิจัยและพัฒนาเครื่องปรับอากาศอย่างจริงจัง เป็นการบริหารธุรกิจแบบครอบครัว และตรายี่ห้อเครื่องปรับอากาศไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของตลาด โอกาส มูลค่าทางตลาดเครื่องปรับอากาศมีการเติบโตเพิ่มขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ไม่ยึดติดตรายี่ห้อ ตลาดเครื่องปรับอากาศในกลุ่มพาณิชย์สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่มีเติบโต และการเปิดเสรีทางการค้าของอาเซียน และภัยคุกคาม ภาวะการแข่งขันเครื่องปรับอากาศรุนแรงโดยเฉพาะคู่แข่งขันจากประเทศจีนมีราคาถูก กฎระเบียบ ข้อจำกัด ถูกนำมาเป็นข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศ เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หน่วยงานภาครัฐไม่ได้มีการบูรณาการงานวิจัยที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมที่นำไปต่อยอดเชิงธุรกิจได้ และแนวโน้มการปรับภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศในอัตราร้อยละ 15 ของราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ส่วนผลการวิเคราะห์แนวทางการสร้างกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพพลังงานสูงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับเจ้าของกิจการซึ่งเป็นผู้ประกอบการผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศสัญชาติไทยและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มี 4 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การสร้างนวัตกรรม อาทิ นวัตกรรมธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงลักษณะผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างทางกายภาพ คุณภาพ และภาพลักษณ์ นวัตกรรมธุรกิจด้านการจัดการ พัฒนาบุคลากร ส่งไปฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ การเรียนรู้ผ่าน E-Learning และใช้การสื่อสารผ่าน Social Media และนวัตกรรมธุรกิจด้านกระบวนการผลิต ลดสัดส่วนระหว่างคนกับเครื่องจักรอัตโนมัติ และลดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของท่อทองแดงลงให้เหลือขนาดเท่ากับ 5 มิลลิเมตร แนวทางที่ 2 มุ่งเน้นตลาดเฉพาะส่วน โดยผลิตเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่เฉพาะธุรกิจ เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ห้องเย็น เบเกอรี่ โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น แนวทางที่ 3 ทำข้อตกลงความร่วมมือกันในลักษณะ คลัสเตอร์ ระหว่างผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศไทย และ แนวทางที่ 4 จ้างบริษัทขนาดเล็กผลิตเครื่องปรับอากาศทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ โดยให้ผลิตแล้วติดตรายี่ห้อของผู้ผลิตไทย
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1478
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก194.13 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ284.16 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ164.68 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ584.24 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1547.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2820.88 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3360.1 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.05 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5433.04 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม386.84 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.