Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1494
Title: การจัดการชุมชนเข้มแข็ง ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: A Strong Community Management in Line with Sufficiency Economy Philosophy : Case Study at Sufficient Economy Philosophy Learning Center, Bangpla Subdistrict, BangphliDistrict , Samutprakarn Province
Authors: จันทนา, อินทฉิม
Inthachim, Chanthana
Keywords: เศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้
สมุทรปราการ
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาระดับการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ศึกษาความรู้ ความเข้าใจของประชาชนต่อการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และศึกษาวิธีการและรูปแบบการจัดการชุมชนเข้มแข็ง ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ รูปแบบของการวิจัยเป็นแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 395 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 คน รวมทั้งสิ้น 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t ( t – test) ค่าเอฟ (F – test) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1. ผลการศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของประชาชน ที่มีผลต่อการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คือ เพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐาน 2. ผลการศึกษาระดับการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน พบว่าอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x =3.67S.D .06) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านคือ ด้านการพึ่งพาตนเอง มีค่าเฉลี่ย ( x=3.68 S.D .08) ด้านกระบวนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย ( x=3.69 S.D .03) และด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย ( x=3.64 S.D .09) 3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเข้าใจแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนต่อการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r=.403) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คือ ด้านการมีส่วนร่วม (r=.403) ด้านการพึ่งพาตนเอง (r=.448) และด้านกระบวนการเรียนรู้ (r=.359) มีระดับความสัมพันธ์ปานกลาง เป็นไปในทิศทางบวก 4. ผลการศึกษาการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เพราะยังนำไปปรับใช้ได้ไม่เต็มที่ อาจจะมาจากยังไม่เข้าใจการนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาได้เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน 5. ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการชุมชนเข้มแข็ง ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย (1) การมีส่วนร่วม (2) การพึ่งตนเอง (3) กระบวนการเรียนรู้ (4) ผู้นำ และ (5) เครือข่ายความร่วมมือ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1494
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก82.1 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ415.98 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ228.26 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ175.5 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1402.69 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.55 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3581.55 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.2 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5730.06 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม206.87 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก19.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.