Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1689
Title: การศึกษาคุณค่าด้านอัตลักษณ์ของศิลปะข้างถนนเพื่อการสร้างมูลค่าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
Other Titles: Value Identity of Street Art toward Creative Economy
Authors: ไชยสิทธิ์, ชาญอาวุธ
Chanarwut, Chaiyasit
พัชราภา, เอื้ออมรวนิช
Euamornvanich, Patcharapa
Keywords: ศิลปะข้างถนน
อัตลักษณ์
ความคิดสร้างสรรค์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2015
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง คุณค่าด้านอัตลักษณ์ของศิลปะข้างถนนเพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในระยะปีแรกจะทำการศึกษาถึงบริบทความสัมพันธ์ ปัจจัยในการสร้างตัวตนจนก่อรูปขึ้นเป็นอัตลักษณ์ของศิลปะข้างถนนในประเทศไทย โดยใช้แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมประชานิยม วัฒนธรรมย่อย อัตลักษณ์ พื้นที่สาธารณะ ความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออก มาอธิบายปรากฏการณ์การแสดงตัวตนซึ่งล้วนเป็นกรอบคิดหลังสมัยใหม่ในสายวัฒนธรรมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร สังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับศิลปินข้างถนนจำนวน 22 คนและภัณฑารักษ์ 3 คน ผลการวิจัย พบว่า ศิลปะข้างถนนเป็นวัฒนธรรมย่อยที่เกิดขึ้นเพื่อการต่อสู้เป็นประเด็นสำคัญ ในเวลาต่อมาได้ถูกนำมาปรุงแต่งโดยโครงสร้างของระบบทุนนิยมให้เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมวัฒนธรรม จนมีความนิยมถึงขีดสุดในช่วงปลายกราฟฟิติ จากนั้นก็ค่อยๆ ลดความนิยมลงกลายสภาพเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อยตามแหล่งที่เกิดมา คือ อยู่เพื่อแสดงถึงการต่อสู้ ต่อต้านกับกระแสทุนนิยมที่เปลี่ยนสังคมให้เป็นสังคมของการบริโภคนิยมอีกครั้ง โดยกลุ่มวัฒนธรรมศิลปะข้างถนนจะใช้พื้นที่สาธารณะในการแสดงออกด้านอัตลักษณ์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการสื่อสารของตน อีกทั้งในปัจจุบันยังมีสื่อสังคมออนไลน์ช่วยในการเผยแพร่งานของตน ซึ่งอัตลักษณ์ที่ได้แสดงออกมานั้น เกิดจากการสั่งสมทางประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับแต่ละคน จึงทำให้อัตลักษณ์มีลักษณะหลากหลาย ไม่ซ้ำซ้อน ส่วนความเป็นไทยในงานศิลปะข้างถนน ยังไม่เด่นชัดมากนัก เนื่องจากเป็นการหยิบยืมเอามาจากวัฒนธรรมตะวันตก ประเภทของศิลปะข้างถนนที่พบในประเทศไทย มี 9 ประเภท ได้แก่ แท็ก, โทรอัพ, ตัวอักษร, ตัวละคร, สติกเกอร์บอมบ์, โปสเตอร์, การรวมตัวกันผลิตผลงาน, เพ้นท์ และพีช ซึ่งแต่ละรูปแบบถูกนำเสนอในท่าทีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อและทัศนคติ โดยแยกเป็น 3 ระดับ คือ การสื่อสารระดับรุนแรง การสื่อสารแบบตลกร้าย และรูปแบบการทักทาย ในการนำศิลปะข้างถนนมาต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากการสำรวจนั้น พบว่า มีการเริ่มต้นมาแล้วระยะหนึ่งคามกระแสนิยมของวัฒนธรรมฮิปฮอป ซึ่งเริ่มต้นจากความชอบ ทำกันอย่างพึ่งพาตนเองเล็กๆ เพื่อตอบสนองความสุขและความต้องการทางอุดมการณ์ในสิ่งที่ตนเองรัก แต่ภาครัฐยังไม่ได้ให้ความสนใจหรือสนับสนุนมานักในการนำความคิดสร้างสรรค์ของศิลปะข้างถนนไปต่อยอด ซึ่งในยุคปัจจุบันสามารถแยกประเภทในการสร้างมูลค่าได้ 3 ประเภท คือ 1. ด้านสินค้า ผลิตภัณฑ์ และผลงานสร้างสรรค์ 2. ด้านการสร้างแบรนด์และการตลาด 3. ด้านการสร้างมูลค่าในตัวบุคคล ทั้งสามแนวทางถือได้ว่าเป็นการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ โดยใช้ต้นทุนจากความคิดสร้างสรรค์โดยใช้ต้นทุนจากวัฒนธรรมนำมาต่อยอดในการลงทุน เพื่อสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตต่อไป
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1689
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก128.55 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ211.56 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ143.96 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ311.81 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1392.26 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.71 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3838.97 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.43 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.51 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม385.93 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก300.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.