Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1808
Title: การจัดการความรู้เพื่อสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Knowledge Management for Inheritance Thai Cultural in Dhonburi District, Bangkok
Authors: สมจินตนา, จิรายุกุล
Jirayukul, Somjintana
วินัยธร, วิชัยดิษฐ์
Wichaidit, Winaithorn
สุธิดารัตน์, มัทธวรัตน์
Mattavarat, Sutidarat
Keywords: วัฒนธรรม
ธนบุรี
หัตถกรรม
การอนุรักษ์
ภูมิปัญญาไทย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตหัตถกรรมไทยสืบสานวัฒนธรรมฝั่งธนบุรี กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบ้านรักษ์ดิน และเสนอแนวทางการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของฝั่งธนบุรี ด้านหัตถกรรมไทย 2)เพื่อการจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการ สืบสานวัฒนธรรมทางดนตรีไทยฝั่งธนบุรีกรณีศึกษาบ้านพาทยโกศลและเสนอแนวทางการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของฝั่งธนบุรี ด้านดนตรีไทยไทย และ3)เพื่อการจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการสืบสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งธนบุรีกรณีศึกษาชุมชนกำแพงทองพัฒนาและเสนอแนวทางการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของฝั่งธนบุรี ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม งานวิจัยนี้เป็นชุดแผนงานวิจัยที่ดำเนินการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา ประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเป็นมาวิถีการดำเนินกิจการและกระบวนการผลิตหัตถกรรมไทยสืบสานวัฒนธรรมฝั่งธนบุรีของวิสาหกิจชุมชนบ้านรักษ์ดิน พบว่า มีแนวทางการผลิตหัตถกรรม โดยใช้เยื่อไม้ใยกระดาษ การรักษาสิ่งแวดล้อม การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประยุกต์ที่มีอัตลักษณ์ มีวิถีศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทยของฝั่งธนบุรี จากโบสถ์และวัดในชุมชน มีกระบวนการผลิตผลงานหัตถกรรมจากเยื่อไม้ใยกระดาษ ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย แนวทางการบริหารจัดการเน้น การสร้างสรรค์ผลงานตามองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมที่มีอยู่ โดยมีกระบวนการบริหารจัดการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม ผลจากการบริหารจัดการนั้นมุ่งเพื่อสร้างผลกำไร การประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจไปพร้อมกับการมุ่งสร้างสรรค์ผลงานทางหัตถกรรมที่ทรงคุณค่าและเป็นการอนุรักษ์สืบสานให้งานหัตถกรรมไทยฝั่งธนบุรี 2) ผลการศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของวงดนตรีไทยบ้านพาทยโกศล พบว่า วงดนตรีไทยบ้านพาทยโกศลได้เริ่มต้นจากการเป็นวงดนตรีไทยบ้านหลังวัดกัลยาณมิตร วงดนตรีไทยวังบางขุนพรหม วงดนตรีไทยพาทยโกศลเป็นวงดนตรีเดียวกันแต่ได้เปลี่ยนชื่อวงไปตามยุคสมัย ซึ่งในปัจจุบันเป็นวงดนตรีไทยชาวบ้านในนาม“วงพาทยโกศล” ที่ยังตั้งอยู่ฝั่งธนบุรีโดยมีทายาทสืบทอดเป็นรุ่นที่8 ผลการศึกษาแนวการบริหารจัดการ พบว่า แนวทางการบริหารจัดการส่วนใหญ่เน้นความเป็นศิลป์ตามวิถีศิลปินซึ่งการดำเนินการของวงเป็นไปตามกระบวนการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการนำ และด้านการควบคุม ผลจากการบริหารจัดการนั้นมิได้มุ่งเพื่อสร้างผลกำไรแต่มุ่งสร้างสรรค์ผลงานทางการดนตรีและเป็นการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรม 3) การศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนกำแพงทองพัฒนา เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา(สายเดิม) ซึ่งต่อมากลายเป็นคลองบางหลวงในปัจจุบัน ชุมชนแห่งนี้มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ส่งผลให้ชุมชนมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ ที่เป็นสมบัติอันมีค่า ตลอดจนประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีความผูกพันกับสถานที่แห่งนี้ มีการดำรงชีวิตตามวิถีชาวคลองมาจนถึงปัจจุบันได้โดยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ (1) การมีความคุ้มครองจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ที่กำหนดให้ “คลองบางหลวง” เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ (2) การที่ผู้อาศัยอยู่ในชุมชนทั้งผู้อาศัยเดิมและผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่มีค่านิยมหลักและอุดมการณ์เดียวกันคือ การเน้นความเรียบง่าย เป็นธรรมชาติ เคารพในความเป็นส่วนตัวซึ่งกันและกัน มีพิธีกรรมและพิธีการที่ร่วมสมัยกันในความเชื่อเกี่ยวกับสุนทรียะทางศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น และวิถีแห่งการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย รวมทั้งมีเครือข่ายการสืบสานและการเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมให้คนรุ่นต่อๆ ไป แนวการบริหารจัดการในการสืบสานและอนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนกำแพงทองพัฒนา เน้นความเป็นอิสระ แต่เคารพในความเป็นส่วนตัวซึ่งกันและกัน รับผิดชอบตามขอบเขตแห่งตน ไม่ก้าวก่ายกัน มีความเชื่อเกี่ยวกับสุนทรียะทางศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น และวิถีแห่งการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย สอดคล้องกับกระบวนการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน การจัดองค์การ ด้านการนำ และด้านการควบคุม ผลจากการบริหารจัดการนั้นมิได้มุ่งเพื่อสร้างผลกำไรหรือการประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจแต่มุ่งสร้างสรรค์ และสืบสานให้ชุมชนกำแพงทองพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอยู่คู่สังคมไทยสืบไป 4) ผลจากการตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องและเหมาะสมโดยมีค่าคะแนน IOC เท่ากับ 1.00 ทุกประเด็น และผลการประเมินความเหมาะสมของสารสนเทศการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบ วีดีทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 S.D. = 0.47)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1808
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก54.99 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ176.09 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledegment.pdfกิตติกรรมประกาศ103.53 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ146.61 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1191.98 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.77 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3394.12 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.79 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5799.16 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม329.73 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก600.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.