Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/37
Title: บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Roles of Private Vocational Education School Administrators in Ethic and Moral Development Promotion for Vocational Education School Students under Bangkok Vocational School Commission Office
Authors: บุษบา, จี้เพ็ชร
Jeepechara, Busaba
Keywords: วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา
ผู้บริหารโรงเรียน
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษา ในโรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา 2)เปรียบเทียบระดับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษา ในโรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานครตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา โดยจำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างการหาค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1)ความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักศึกษาในโรงเรียนอาชีวะเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2)เปรียบเทียบระดับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษา ในภาพรวม จำแนกตามเพศ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารเพศชายและผู้บริหารเพศหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารอายุต่ำกว่า 45 ปี และผู้บริหารอายุ 45 ปีขึ้นไป ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีและผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 10 ปีและผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/37
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก353.28 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ332.63 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ95.17 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ44.29 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ235.42 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.35 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 27.64 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3674.43 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 46.08 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 53.52 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม564.03 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.