Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/712
Title: ความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
Other Titles: The Success of School Administration Based on Sufficient Economy Principles of Primary Schools under Samutprakarn Primary Education Service Office Area 1
Authors: วุฒิกร, เลี่ยมยองใย
Leamyongyai, Wuttikorn
Keywords: การบริหารโรงเรียน,เศรษฐกิจพอเพียง,สมุทรปราการ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2011
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 ในภาพรวม เพื่อเปรียบเทียบระดับความสำเร็จในการบริหารโรงเรียน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนและครู เพื่อศึกษาปัญหาและเสนอแนวทางแก้ปัญหาการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร 27 คนและครู 288 คน โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 15 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่าการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามคุณลักษณะ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขคุณธรรม และเงื่อนไขความรู้บริหารงาน 4 ด้านคือ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป ความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูต่อระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านการเปรียบเทียบระดับความสำเร็จในการบริหารโรงเรียน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามเพศ จำแนกตามตำแหน่ง และจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน สำหรับปัญหา อุปสรรค คือ ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการวางแผนการดำเนินงานธุรการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน้อยไป ข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารควรแจ้งให้ครู รับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนางาน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/712
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก139.79 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ80.19 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ119.9 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ99.64 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ385.24 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1765.34 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 25.35 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3302.92 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 44.4 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5834.53 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม171.46 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.