Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/778
Title: การประเมินโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Evaluation of Subsistence Allowance Project for the elderly of Bangbor Sub-District Administration Organization, Bangbor District, Samutprakarn Province.
Authors: สุวรรณี, ประมาณ
Pramarn, Suwannee
Keywords: โครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพ,ผู้สูงอายุ,การประเมินโครงการ,สมุทรปราการ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ อบต.บางบ่อ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ อบต.บางบ่อ กลุ่ม ตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือfผู้เข้าร่วมโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 274 คน สุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเลขสุ่มของเคร็ซซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ อบต.บางบ่อ ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยทั้ง 4fด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าf1) ด้านบริบท หรือสภาวะแวดล้อมของโครงการ ข้อที่มีการปฏิบัติระดับมากที่สุด คือ อบต.บางบ่อให้ความสำคัญกับโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับf4.33 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ข้อที่มีการปฏิบัติระดับมากที่สุด คือ มีสถานที่ให้ติดต่อราชการ ตามโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15ff3) ด้านการดำเนินงานโครงการ ข้อที่มีการปฏิบัติ ระดับมากที่สุด คือ มีการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3 เดือน/ครั้ง ตามเกณฑ์ที่ อบต.บางบ่อกำหนด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 4) ด้านผลผลิตของโครงการ ข้อที่มีการปฏิบัติระดับมากที่สุด คือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุอยู่ดีกินดี มากขึ้น และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นfมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13fส่วนปัญหาในการ ดำเนินงานโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ดังนี้ 1) จำนวนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 500fบาท น้อย เกินไป 2) การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3 เดือน/ครั้ง ช้าเกินไป 3) การรับข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึง ขาดความ ต่อเนื่อง สำหรับข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย คือ 1) ควรมีการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกเดือน 2) ควรเพิ่มจำนวนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 1,000 บาท/เดือน 3) ควรมีการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นเงินสด ตามลำดับ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/778
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก141.64 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ72.75 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ133.31 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ81.51 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ125.67 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1230.59 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.26 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3144.01 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4326.04 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5227.66 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม180.06 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.