Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1706
Title: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในบริบทอาเซียนสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Other Titles: A Development of English Enhancement Training Program for Communication in ASEAN Context for the Education Faculty Students of Dhonburi Rajabhat University
Authors: ณัฐวัฒน์, ฐิตวัฒนา
Thitawattana, Nattawat
กริช, ภัทรภาคิน
Phattaraphakin, Kris
Keywords: ทักษะการสื่อสาร
ภาษาอังกฤษ
อาเซียน
ครุศาสตร์
หลักสูตรการฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในบริบทอาเซียนสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในบริบทอาเซียนสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี การดำเนินการศึกษาวิจัยเป็นแบบวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนที่ 1 สร้างหลักสูตรฝึกอบรม และ 2) ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมโดยการวัดผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมของผู้ที่เข้ารับการอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรม 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม และ 3) แบบสอบ ถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เนื้อหาของบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน และ การประเมินผล เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วย 6 บทเรียน แต่ละบทเรียนประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนฝึกทักษะการฟังและการพูด ส่วนฝึกทักษะการอ่านและการเขียน และ ส่วนทบทวนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ 2. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตร พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ค่าประสิทธิภาพของหลักสูตรที่ได้คือ E1/E2 เท่ากับ 84.96/37.33 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ E1/E2 เท่ากับ 70/70 แสดงว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (E1) ของหลักสูตรผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ประสิทธิภาพของผลลัพธ์การประเมินพฤติกรรมขั้นสุดท้ายหรือผลลัพธ์จากการสอบหลังเรียน (E2) ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 4. ค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมโดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1706
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก197.95 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ324.03 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ278.73 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ373.86 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1501.76 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 22.43 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3681.19 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4865.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5767.88 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม512.44 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.