Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1811
Title: ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูธุรกิจในสายอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนสู่การทำงานและดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
Other Titles: The needs assessment for learning management development of vocational business teachers aiming to enhance the 21st century life and career skills of students
Authors: สายใจ, ชุนประเสริฐ
Chunprasert, Saijai
กมลศักดิ์, วงศ์ศรีแก้ว
Wongsrikaew, Kamolsak
Keywords: การเรียนรู้
อาชีวศึกษา
ครู
ทักษะการเรียนรู้
ศตวรรษที่ 21
การฝึกอบรมครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูธุรกิจในสายอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนสู่การทำงานและดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ครูธุรกิจจำนวน 139 คนที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานครที่มีสาขาทางด้านพาณิชยกรรม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลแนวทางในการพัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ t และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงจำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 79.86 และเป็นเพศชายจำนวน 28 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20.14 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 31 - 40 ปี มีจำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 43.17 โดยมีจำนวนประสบการณ์การสอนเรียงจากมากไปหาน้อยคือประสบการณ์ 11 – 15 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 28.78 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 61.15 ในส่วนของความต้องการจำเป็นพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับการปฏิบัติจริงในการสอน น้อยกว่าระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในการจัดการเรียนรู้ในทุกประเด็นย่อยที่เป็นองค์ประกอบของด้านการสอนเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนสู่การทำงานและดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่จะพัฒนาการสอนในทุกประเด็นย่อยให้ดีขึ้นกว่าระดับที่ปฏิบัติจริงในปัจจุบัน โดยแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้แก่ ครูจะต้องแบ่งเวลาในการสอนและการทำงานส่วนรวมให้ดี โดยที่ทางหน่วยงานจะต้องเห็นคุณค่าของการที่ครูต้องมีเวลาในการพัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับนักเรียน นอกจากนั้นยังต้องให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนาทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 นอกเหนือจากความรู้จากการสอนในหนังสือหรือตำราเรียน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1811
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก98.63 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ287.07 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ123.98 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1161.16 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2518.12 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3317.12 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5301.55 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม316.14 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก486.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.