Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1845
Title: การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการสร้างอัตลักษณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน
Other Titles: The Corporate Graphic Identity Design for Promoting and Corporate Image of Kudichin Community
Authors: แสนชัย, ลิขิตธีรวุฒิ
Likhitteerawoot, Sanchai
Keywords: เรขศิลป์
อัตลักษณ์
ภาพลักษณ์
ชุมชนกุฎีจีน
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. research and development institute .
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาหาองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนกุฎีจีน ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของชุมชนกุฎีจีนให้ชัดเจนขึ้น ผ่านผลงานการออกแบบเรขศิลป์ที่ใช้ในการสร้างอัตลักษณ์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสังเคราะห์อัตลักษณ์รูปแบบเรขศิลป์สำหรับชุมชนกุฎีจีน 2) เพื่อสร้างแนวทางการใช้เรขศิลป์ในการสร้างอัตลักษณ์สำหรับชุมชนกุฎีจีน ให้สามารถนำไปใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ เพื่อการสื่อสารของชุมชนในกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการสื่อสารที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกชุมชนกุฎีจีน 3) ประชาชนทั่วไปสามารถนำผลการศึกษาไปปรับใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแหล่งโบราณคดีในท้องถิ่นของตนเอง การดำเนินการวิจัยมีวิธีการสำคัญ คือ เริ่มจากการค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุมชนกุฎีจีน การลงพื้นที่เพื่อสํารวจสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลในเชิงสังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชุมชน การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ประธานชุมชน และชาวชุมชนในพื้นทีชุมชนกุฎีจีน นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยนักวิชาการด้านการออกแบบอัตลักษณ์ และนักออกแบบเรขศิลป์ จากนั้นจึงนําข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปความเป็นไปได้ในเชิงกายภาพสําหรับการออกแบบเพื่อสร้างแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์ในการสื่อสารอัตลักษณ์ รวมทั้งใช้เป็นสัญลักษณ์ร่วมในการสร้างอัตลักษณ์เพื่อการสื่อสารของชุมชนกุฎีจีน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา ผลการวิจัยพบว่า ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชนกุฏีจีน พบว่า ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนชาวคริสต์ทีได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมโปรตุเกสมานานกว่าสองศตวรรษ เป็นชุมชนที่มีลักษณะเป็นพหุทางวัฒนธรรมและยังคงรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบันท่ามกลางความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี แต่ยังสามารถสืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนไว้ได้อย่างเข้มแข็ง ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์แนวทางการใช้เรขศิลป์ในการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ที่ปรากฏทั้งทุนวัฒนธรรมที่สัมผัสได้ (Tangible Culture) เช่น อาคารบ้านเรือน สถาปัตยกรรม ศาสนถาน สภาพแวดล้อม และทุนวัฒนธรรมที่สัมผัสไม่ได้ (Intangible Culture) เช่น ประวัติศาสตร์ เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับชุมชนกุฎีจีนที่แสดงถึงวัฒนธรรมทั้งในลักษณะรูปธรรม และนามธรรม รวมไปถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่อันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน สามารถนำทุนวัฒนธรรมมาใช้เพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิด บุคลิก ทิศทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับสร้างอัตลักษณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีนให้เด่นชัดขึ้น ส่วนที่ 3 การนำผลงานออกแบบอัตลักษณ์จากงานวิจัยไปปรับใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน และการประเมินผล เป็นการสรุปการประเมินผลงานออกแบบจากการวิจัยการออกแบบเรขศิลป์สำหรับการสร้างอัตลักษณ์และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ประธานชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนจากชุมชนกุฎีจีน กลุ่มที่ 2. ประชากรในชุมชนกุฎีจีนจำนวน 50 คน กลุ่มที่ 3 ประชากรที่เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 50 คน ประชากรทั้ง 3 กลุ่ม ได้แสดงความพึงพอใจผลงานการออกแบบเรขศิลป์สำหรับการสร้างอัตลักษณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน ในภาพรวมค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับดีมาก
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1845
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก129.88 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ124.95 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ60.11 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ157.69 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1356.93 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.6 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3285.09 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 42.94 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5600.57 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม291.17 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.